เตรียมพร้อมสัมภาษณ์งาน

เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ที่ดี จะช่วยทำให้ น้องๆมี ความมั่นใจ ก่อนการสัมภาษณ์งาน ทั้งหมด คือ 20 เทคนิค เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ที่นำมาฝาก

เป็นเทคนิคดีๆ ที่น้องๆสามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้ได้ผลลัพท์ตามที่ตนเองคาดหวัง และได้งานตามที่ทุกคนมุ่งมั่น ซึ่งจะขอกล่าวเป็นข้อๆ ใน 20 สิ่งที่เด็กจบใหม่ควรรู้

เตรียมพร้อมสัมภาษณ์งาน

1. หาข้อมูลของบริษัทนั้นๆ

น้องๆควรรู้ว่าบริษัทนั้น เขามี มุมมอง และ เป้าหมายของบริษัท เป็นอย่างไร ข่าวสารปัจจุบัน เพื่อแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าน้องๆมีข้อมูล และ แสดงให้เห็นว่าน้องๆใส่ใจ และได้เตรียมตัวมาสัมภาษณ์ เมื่อน้องๆมีข้อมูล การพูดตอบคำถามจะราบรื่น และลดการตื่นเต้นได้

ช่องทางการหาข้อมูลต่างๆ

  • แหล่งข้อมูลโดยตรงทางเว็บไซต์ของบริษัทที่สนใจ และค้นหาแผนกที่เปิดรับสมัคร
  • สื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มส่วนตัวเพื่อหางานภาษาอังกฤษทุ
  • ตำแหน่ง งาน Part time, Instagram สามารถใส่ #หางาน เป็นต้น
  • เว็บไซต์จัดหางาน เช่น LinkedIn, Indeed, กรมการจัดหางาน
  • เพจต่างๆที่แชร์ความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับงานนั้นๆ เช่น การสมัครแอร์โฮสเต
  • สอบถามจากผู้ที่ทำงานอยู่ในบริษัทนั้นๆ
  • งาน Job Fairs

2 .เข้าใจลักษณะงานที่จะสมัคร

อ่านรายละเอียดของงานที่จะสมัคร หรือ Job Description ว่าบริษัทนั้นๆกำลังมองหาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติอย่างไร

ตัวอย่าง เตรียมตัวสัมภาษณ์งานบริการ

งานบริการลูกค้า (Customer Service) : จะต้องทราบในเรื่อง

  • ทักษะในการติดต่อสื่อสารทั้งกับเพื่อนร่วมงานและลูกค้า
  • การดูแล และ ตอบข้อสงสัย ให้ลูกค้า
  • มีประสบการณ์ในการทำงานเป็นทีม
  • มีความรู้โปรแกรมพื้นฐานด้านการใช้คอมพิวเตอร์ เช่น MS word, Excel

ตัวอย่าง เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน วิเคราะห์ข้อมูล

งาน Data Analysts : จะต้องทราบในเรื่อง

  • ทักษะทางด้านคณิตศาสตร์พื้นฐานและการคำนวณ
  • สามารถนำเสนอภาพข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือต่างๆในการวิเคราะห์ เช่น Business Objects, Power BI, Tableau

3. แต่งกายให้ดูเหมาะสมอย่างมืออาชีพ

ควรเลือกเครื่องแต่งกายที่สะอาด ไม่มีรอยยับ และไม่รัดรูปจนเกินไป เพื่อสร้างความประทับใจแรกให้กับผู้สัมภาษณ์ และเป็นการแสดงออกถึงความเป็นมืออาชีพและการเตรียมพร้อมมาอย่างดี โดยสามารถเลือกใส่ชุดอย่างเหมาะสมกับงานที่กำลังไปสัมภาษณ์ ไม่ว่าจะเป็น

Business Attire

คือ ชุดทำงานที่เป็นทางการ ทั้งกางเกงหรือกระโปรงสำหรับผู้หญิง ผู้ชายควรผูกเนคไท

Business Casual หรือ Smart Casual

คือ ชุดทำงานที่ไม่เป็นทางการหรือแบบลำลอง แต่คงไว้ซึ่งความสุภาพ ไม่จำเป็นต้องสวมสูททับ

4. เตรียมเอกสารการสมัครงานต่างๆ พร้อมสำเนา

น้องๆควรเตรียมมาให้พร้อม และอย่าลิมที่จะอัพเดทเรซูเม่ เขียนประสบการณ์การทำงานล่าสุดไล่ไปถึงประสบการณ์แรกที่น้องๆมี น้องๆบางคนอาจเป็นครั้งแรกที่เคยสัมภาษณ์งานและไม่รู้ว่าจะเขียนเรซูเม่แบบไหนให้ดูดี น้องๆสามารถหาที่ๆรับเขียนเรซูเม่เพื่อนำเสนอตัวตนของน้องๆให้โดดเด่น แต่อย่าลืมทำความเข้าใจในรายละเอียดของเรซูเม่ของเราว่าเขียนอะไรไปบ้าง เพราะส่วนใหญ่ผู้สัมภาษณ์จะถามคำถามเราจากตรงนั้นด้วย

ข้อควรทำเกี่ยวกับเรซูเม่

List เอกสารที่ควรมีในวันสัมภาษณ์

อ่านต่อ รายละเอียด เอกสารสำคัญ เตรียม สมัครงาน

5. จัดเตรียมผู้อ้างอิง

การเขียน Reference หรือการอ้างอิงตัวบุคคลลงในเรซูเม่ จะทำให้น้องๆดูน่าเชื่อถือเพราะมีผู้ที่สามารถรับรองว่าตนเองมีประสบการณ์จากบริษัทนั้นๆ

รายละเอียดที่ควรใส่ใน Reference

  • ชื่อจริง
  • ตำแหน่งงาน
  • ที่อยู่ของสถานที่ทำงาน
  • เบอร์โทรติดต่อ
  • อีเมล์

โดยจัดเรียงตามลำดับให้ดูเรียบร้อย ตามรูปแบบที่ดูอ่านง่าย สวยงาม สำหรับน้องๆที่จบใหม่ สามารถใส่ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาลงไปได้

รับเขียนเรซูเม่สมัครงาน

6. ฝึกฝนตอบคำถามทั่วไปที่อาจถูกถามในวันสัมภาษณ์

ลองซ้อมตอบคำถามที่อาจจะถูกถามหน้ากระจก เพื่อที่จะได้เห็นสีหน้าของตัวเองว่าเวลาเราตอบ แสดงสีหน้าออกมาแบบไหน การใช้มือประกอบการพูดที่ไม่ดูเยอะเกินไป น้องๆควรเข้าใจว่ากำลังพูดอะไรอยู่ และพูดให้ตรงประเด็น บางคนอาจลองฝึกซ้อมกับเพื่อนเพื่อให้ได้รับฟีดแบค

5 ตัวอย่างคำถามที่มักจะได้เจอตอนวันสัมภาษณ์

1.เล่าถึงตัวเองมาเล็กน้อย Tell me about yourself?

คำถามนี้น้องๆมักจะเจอตั้งแต่การสัมภาษณ์เริ่มต้น เพื่อเป็นการลดความตึงเครียดระหว่างคู่สนทนา และเป็นการทำความรู้จักกันในเบื้องต้น น้องๆสามารถเล่าว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ตอนนี้ น้องๆที่เพิ่งจบก็สามารถพูดได้ว่า เรียนจบมาจากที่ไหน คณะอะไร พยายามพูดกระชับ เพื่อไม่ให้ดูน่าเบื่อ

2. อะไรคือจุดเด่น What are your strengths?

ผู้สัมภาษณ์ย่อมอยากทราบถึงความสามารถหรือความเชี่ยวชาญต่างๆที่ผู้สมัครมี น้องๆอาจเตรียมตัวพูดถึงประสบการณ์ต่างๆ นำคีย์เวิร์ดที่เป็นจุดเด่นที่แสดงถึงความเป็นตัวของน้องๆ และเอื้อต่อองค์กรนั้นๆที่เขากำลังมองหา คำเหล่านี้จะทำให้น้องๆเป็นที่จดจำ และทำให้ผู้สัมภาษณ์นั้นสนใจ

ยกตัวอย่างเช่น professional, team player, discreet, flexible เป็นต้น พยายามพูดแบบไม่ท่องจำเป็นประโยคเพราะเวลาน้องๆตื่นเต้นจะกลายเป็นพูดตะกุกตะกัก เสียงสั่น หรือลืมหมด

3. อะไรคือจุดด้อย What are your weaknesses?

คำถามในส่วนนี้กรรมการเปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ ได้แสดงถึงการตระหนักรู้ในตนเอง รู้ว่ามนุษย์เราล้วนต้องมีข้อผิดพลาดหรือข้อด้อยในชีวิต แต่เมื่อเรารับรู้แล้ว เรานำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น หรือเรียนรู้อะไรจากตรงนั้น แต่น้องๆไม่ควรเลือกเล่าข้อด้อยที่เป็นการขัดขวางให้น้องไม่ประสบความสำเร็จจากหน้าที่การงานนั้นๆ หรือสิ่งที่องค์กรนั้นๆกำลังมองหา น้องๆสามารถเลือกเล่าข้อด้อยจริงๆของน้อง พร้อมกับพูดให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่ามีการปรับปรุง แล้วผลลัพท์ออกมาดีขึ้นอย่างไร

4. ทำไมคุณถึงอยากร่วมงานกับบริษัทนี้ Why do you want to work for this company?

คำตอบของน้องๆสามารถแสดงถึงความสนใจที่มีต่อองค์กรที่น้องๆได้ไปสัมภาษณ์ สิ่งที่ควรพูดคือข้อมูลขององค์กรหรือบริษัทนั้นๆ ว่าดีอย่างไร และทำไมถึงสนใจอยากร่วมงายด้วย นำจุดเด่น ความสามารถที่มีมานำเสนอต่อคณะกรรมการว่าเราจะสามารถนำมาทำงานกับที่นี่ได้อย่างไร และไปในทิศทางเดียวกันกับที่ๆเราไปสัมภาษณ์
คำตอบที่ควรระวัง ที่ถึงแม้ว่าน้องๆจะตอบอย่างจริงใจและเป็นความจริงแต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่คณะกรรมการอยากได้ยิน เช่น ที่นี่ให้ค่าตอบแทนมากกว่า ชั้นแค่อยากทำงานและที่นี่ก็ดูน่าสนใจ เป็นต้น

5. ทำไมเราถึงควรจ้างคุณ Why should we hire you?

คำถามนี้ น้องๆยังควรเน้นย้ำความรู้ความสามารถที่มี ลักษณะนิสัย และคุณลักษณะที่เอื้อประโยชน์ต่องานที่จะถูกว่าจ้าง พยายามพูดเน้นยำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกว่าน้องคู่ควร และสามารถทำให้บริษัทนั้นๆเติบโตไปได้
อ่านต่อ ตัวอย่างการทำ ทำไมเราถึงควรเลือกคุณ

ตัวอย่าง 151 คำถามสัมภาษณ์งาน 

7. เตรียมคำถามมาถามถ้าถูกเปิดโอกาสให้ถาม

ในตอนสุดท้ายของการสัมภาษณ์ คณะกรรมการอาจเปิดโอกาสให้ถามกลับ คำถามที่ถามออกไปควรแสดงถึงความสนใจที่มีต่อบริษัทนั้น หรือในเชิงคำถามที่เอาใจผู้สัมภาษณ์ คำถามที่ถามกลับไปสามารถแสดงถึงความเป็นมิตร หรือมุมมองของตัวน้องๆเอง

ตัวอย่างการตอบ “ มีอะไรจะถามไหม”

  • ถามถึงระยะเวลาของการรู้ผลสัมภาษณ์ เช่น
    “When can I expect to hear back from you?”
  • ถามถึงความรู้สึกของผู้สัมภาษณ์ที่มีต่อบริษัท เช่น
    “What do you like most about working for this company?”

8. พูดถึงทักษะความสามารถที่มีพร้อมยกตัวอย่าง

โดยตัวอย่างที่นำมาพูดประกอบ ควรพูดถึงskillsที่มี ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์นั้นๆ และมีผลดีต่อบริษัทอย่างไร ทำให้น้องๆเหมาะสมและสมควรที่จะได้ถูกเลือกกับตำแหน่งที่ไปสัมภาษณ์

ตัวอย่าง ความสามารถพิเศษ

Interpersonal skills เป็นทักษะที่แสดงถึงการทำงานร่วมกับผู้อื่น เช่น เมื่ออยู่ภายใต้สถานการณ์กดดัน

  • Ability to work well under pressure สามารถทำงานภายใต้ความกดดันได้เป็นอย่างดี
  • Communication สามารถสื่อสารกับทีมอย่างถูกต้อง ชัดเจน
  • Patience แก้ไขปัญหาด้วยความใจเย็น อดทน
  • Problem-solving สถานการณ์ตึงเครียดถูกแก้ไข
  • Conflict Resolution ไม่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน

Critical Thinking skills เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับอาชีพที่ต้องมีการคิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา เช่น ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller)

  • Analyzing วิเคราะห์สภาพอากาศ เพดานบิน เส้นทางการบิน
  • Evaluating ประเมินผล
  • Explanation พูดคุยอธิบายกับกัปตันทั้งเหตุการณ์ที่ต้องระวังหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน
  • Prioritizing จัดลำดับก่อน-หลัง ว่าอะไรที่สำคัญ และ ควรทำให้เสร็จก่อน
    เป็นต้น

9. พูดเน้นถึงทักษะทางด้าน Soft skills

Soft skills คือ

บุคลิกภาพที่ดี ทัศนะคติ อุปนิสัย ที่จะส่งผลดีต่อทุกอาชีพ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ และไม่สร้างปัญหาใดๆให้กับองค์กร

Hard skills คือ

ความรู้ความสามารถที่เรียนมา ตรงต่อวิชาชีพนั้นๆ เช่น ความรู้ทางด้านบัญชี ความรู้ทางภาษาต่างๆ เป็นต้น

น้องๆสามารถยกตัวอย่าง เช่น ทักษะในการติดต่อสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยใช้หลัก STAR method คือ

  • Situation อธิบายสถานการณ์ หรือปัญหาที่เจอ
  • Task มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไร
  • Action ลงมือ แก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
  • Result ปัญหานั้นถูกแก้ไข และมีผลลัพท์ออกมาอย่างไร

10. การตรงต่อเวลา

ถึงสถานที่นัดสัมภาษณ์ อย่างน้อย 10-15 นาที เพื่อแสดงให้เห็นว่า เราให้ความสำคัญต่อเวลาของผู้ที่สัมภาษณ์ และอย่างน้อยเมื่อน้องๆถึงที่นัดหมายก่อนเวลา น้องๆก็จะมีเวลาเตรียมตัว และช่วยลดคามตึงเครียดของตัวน้องเองอีกด้วย

11. ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด

เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงรบกวน น้องๆควรปิดเครื่องมือสื่อสารต่างๆให้อยู่ในโหมดเงียบ หรืออาจจะปิดเครื่องไปเลยก็ได้ เพราะการที่น้องมานั่งเล่นโทรศัพท์ระหว่างรอสัมภาษณ์ นั่นก็ทำให้น้องเสียบุคลิก ควรนั่งรออย่างเรียบร้อย หรือถ้าเกิดเสียงดังขึ้นมาในระหว่างสัมภาษณ์ก็เป็นการทำลายบรรยากาศการสนทนา

12. แสดงออกให้เห็นถึงความมั่นใจเมื่อเข้าไปสัมภาษณ์

ทักทายผู้สัมภาษณ์ไม่ว่าจะเป็นด้วยการไหว้ หรือการจับมือทักทาย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าน้องๆไปสัมภาษณ์กับที่ใด ทักทายด้วยรอยยิ้ม และมีการสบตากับผู้สัมภาษณ์ขณะพูด ไม่ลุกลิก หรือหลบสายตา

อ่านต่อ คติประจำใจในการทำงาน

13. ระมัดระวังการใช้ ภาษากาย หรือ Body Language

พยายามมีสติขณะพูด เพื่อช่วยรักษาท่าทางที่ดีต่อหน้าผู้สัมภาษณ์ ไม่ควรออกท่าทาง ใช้มือประกอบการพูด หรือแสดงสีหน้ามากเกินไป การฝึกพูดหน้ากระจก หรือฝึกกับเพื่อน น่าจะเป็นตัวช่วยที่ดีเวลาน้องๆเตรียมตัวสัมภาษณ์

ภาษากาย ในวันสัมภาษณ์งาน ที่ควรระวัง

  1. Slumping : หลังงอ ห่อไหล่  ควรยืดไหล่ไปด้านหลัง เงยหน้า แยกเท้าเล็กน้อยเวลานั่งหรือยืน
  2. Wandering Eyes : กวาดสายตาไปทั่วห้อง  ไม่ว่าจะมองพื้นหรือเพดาน แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจ หวาดกลัว ควรสบตาผู้สัมภาษณ์ทั้งขณะฟังและพูด
  3. Fiddling With Objects : จับนู่นจับนี่  แคะเล็บ เล่นผมตัวเอง
  4. Looking Unhappily : มีสีหน้าที่ไม่มีความสุข
  5. Defensive or Aggressive Body Posture : นั่งกอดอก

14. แสดงออกให้เห็นว่ากำลังตั้งใจฟัง

ในขณะที่น้องๆ รับฟังผู้สัมภาษณ์อยู่นั้น น้องๆสามารถพยักหน้า เพื่อแสดงออกให้เห็นว่ากำลังตั้งใจฟัง และมีส่วนร่วมในบทสนทนานั้น และสามารถพูดทวนคำถามก่อนที่จะตอบออกไปก็ได้

ทำยังไงให้ กรรมการ เห็นว่าเราตั้งใจฟัง

  1. Eye Contact สบตา
  2. Nodding Your Head พยักหน้า
  3. Asking Questions ถามคำถามกลับ
  4. Focus โฟกัส ตั้งใจฟัง
  5. Facial Expression แสดงออกทางสีหน้า ตามเรื่องราวที่ สนทนา

อ่านต่อ มารยาท ทางสังคมที่ควรรู้ 

15. พูดอย่างชัดเจนตรงประเด็น

เมื่อถึงเวลาตอบคำถาม หลังจากที่รับฟังคำถามแล้ว น้องๆต้องรู้ว่าตนเองจะตอบไปในทิศทางใด เพื่อเสริมข้อดีต่างๆที่น้องมี และเกี่ยวเนื่องกับคำถาม แสดงให้คณะกรรมการเห็นถึงทัศนะคติที่ดี และพยายามหลีกเลี่ยงการตอบคำถามที่เยิ่นเย้อ หรือหาที่จบไม่ได้

16. แสดงความซื่อสัตย์ จริงใจ

ถ้าน้องๆไม่เข้าใจคำถามนั้นๆ หรือฟังไม่ทัน สามารถบอกผู้สัมภาษณ์อย่างสุภาพให้พูดอีกครั้ง หรือถ้าคำถามนั้น น้องๆไม่รู้คำตอบ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตอบออกไปเพียงแต่แสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่า น้องๆพร้อมที่จะไปหาความรู้เพิ่มเติม หรือแสดงให้เห็นว่าน้องๆสามารถจะเรียนรู้ได้

17. คิดบวก แสดงทัศนะคติที่ดี

มีบทสนทนาที่แสดงออกถึงจุดเด่นในตัวเอง หลีกเลี่ยงบทสนทนาที่แสดงออกในแง่ลบต่อเพื่อนร่วมงาน หรือองค์ก่อนเดิมที่เคยทำงานมา ไม่ควรพูดด้อยค่า หรือแสดงทัศนะคติในแง่ลบ

18. แสดงให้เห็นถึงความซาบซึ้งใจ

กล่าวขอบคุณต่อผู้สัมภาษณ์ เพราะเขาเหล่านี้สละเวลาและเปิดโอกาสให้เราได้มาสัมภาษณ์ทั้งตอนที่สัมภาษณ์เสร็จ และทางอีเมล์เพื่อติดตามผล

19. ผลลัพธ์ที่สะท้อนให้เห็นหลังการสัมภาษณ์

เมื่อน้องๆมีประสบการณ์ในการสัมภาษณ์มาหลายๆที่ น้องๆสามารถประเมิณทั้งจุดแข็ง จุดอ่อนของตัวเองว่าเราทำดีแล้ว หรือมีส่วนไหนที่ยังต้องปรับปรูง เพื่อมาปรับใช้ในการสัมภาษณ์ในครั้งต่อไป

20. มุ่งมั่น ตั้งใจ ไม่ละความพยายาม

การหางานนั้น อาจจะต้องพบเจอกับความผิดหวัง หรือขั้นตอนการสัมภาษณ์ที่ยาวนานหลายขั้นตอน แต่การอยู่เฉยๆโอกาสเท่ากับศูนย์ ถ้าเราลงสนามอย่างน้อยเราก็ได้เปิดโอกาสให้ตัวเอง ได้พบเจอกับสถานการณ์จริง ได้รู้ถึงจุดแข็ง จุดอ่อนที่เรามี เตรียมพร้อมที่จะนำมาพัฒนา ปรับปรุงต่อไป

ถ้าน้องๆยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มตรงไหน พี่หวังว่าบทความนี้จะสามารถช่วยให้น้องๆพบแนวทาง และนำทริคเล็กๆน้อยๆมาปรับใช้ได้ และได้งานที่ตนเองต้องการ ขอให้น้องๆทุกคนโชคดีค่ะ

เตรียมพร้อมสัมภาษณ์งาน วันก่อนวันสัมภาษณ์งาน

  1. เตรียมเรซูเม่ หรือ CV สำหรับไปยื่นในวันสัมภาษณ์
  2. เตรียม จดหมายสมัครงาน หรือ Cover Letter ไปด้วย
  3. เตรียม รูปสมัครงาน ขนาด พาสปอร์ตไซต์ เพื่อใช้ในการแปะใน CV/ Resume
  4. เตรียมปริ๊น อีเมล จดหมายเชิญ (Invitation Letter) เอาไปใช้ในวันสัมภาษณ์
  5. เตรียมสำเนา บัตรประชาชน หรือ Passport (มักจะใช้ในการสมัครงานต่างประเทศ)
  6. เตรียมสำเนา ทะเบียนบ้าน
  7. เตรียมสำเนา ผลคะแนนระดับภาษา เช่นผลคะแนน TOEIC/IELTS/TOFEL ถ้าไม่มีก็ควรไปสอบ
  8. เตรียมสำเนา ใบจบการศึกษาสูงสุด หรือ Transcript อ่านต่อ การเขียนประวัติการศึกาษา
  9. เตรียมสำเนา ใบฝึกงานต่างๆ ที่เคยมี
  10. หาข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติของบริษัท หน้าเว็บไซต์ ของบริษัทนั้นๆ
  11. หาข้อมูลเกี่ยวกับ ตำแหน่งที่กำลังจะไปสมัคร ว่าต้องการคนแบบไหน
  12. หาจุดเด่น จุดแข็งของตัวเอง เพื่อเอาไปตอบคำถาม
  13. เตรียมชุดสัมภาษณ์งาน อย่างมืออาชีพ
  14. List 151 คำถามสัมภาษณ์งาน ตัวอย่างที่คาดว่าจะถาม
  15. ฝึกตอบคำถามสัมภาษณ์งานเหล่านั้น
  16. ฝึก แนะนำตัวสัมภาษณ์งาน ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  17. ตอบให้ได้ว่า ทำไมถึงอยากมาทำงานที่นี่
  18. ฝึกตอบว่า ทำไมถึงลาออกจากงานเก่า  (ตัวอย่างเหตุผลในการลาออก)
  19. ฝึกทำ ข้อสอบภาษาอังกฤษ, Aptitude Test, ข้อสอบคำนวนต่างๆ
    (แล้วแต่ตำแหน่ง อาจจะมีให้ทำข้อสอบด้วย)
  20. ทบทวนเอกสารให้ดี จัดตารางการเดินทางให้ถึง สถานที่สัมภาษณ์ก่อนเวลาสักเล็กน้อย

วันสัมภษณ์งาน

  1. เมื่อไปถึงแล้วควรไป ลงทะเบียน ที่จุดสัมภาษณ์งาน
  2. เข้าห้องน้ำ ให้เรียบร้อย
  3. ปิดเสียงโทรศัพท์ ทั้งหมด
  4. นั่งรอหน้าห้องสัมภาษณ์ อย่างมั่นใจ
  5. รอเรียกสัมภาษณ์
  6. เปิดห้อง ทักทายกรรมการก่อน พร้อมรอยยิ้ม (เตรียม Small Talk)
  7. รอให้กรรมการเชิญนั่ง ก่อน หรือไม่ก็ขออนุญาตนั่ง
  8. ยื่นเอกสารและ เรซูเม่/CV ให้กรรมการ
  9. เริ่มตอบ คำถามสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่จะเริ่มจาก
  10. แนะนำตัว ให้น่าสนใจ สบตากรรมการ
  11. ตอบ ให้ตรงกับคำถาม
  12. ถ้ากรรมการเริ่มถามภาษาอังกฤษ ให้ตอบภาษาอังกฤษ
  13. ถ้ากรรมการถามภาษาไทย ไม่ต้องตอบภาษาอังกฤษ เด้อ
  14. เวลาตอบ ตอบให้จริงใจ ไม่ต้องยาวมาก ขอตรงประเด็น
  15. อย่าตอบว่า ไม่รู้ ไม่เคยทำ ไม่มีประสบการณ์ด้านนั้นมาก่อน แล้วจบ
  16. ถ้าไม่รู้จริงๆ ให้บอกว่า
    ไม่ทราบจริงๆค่ะ แต่จากเท่าที่ได้ยินมา ….
    ไม่เคยทำครับ แต่คิดว่าคงจะน่าตื่นเต้นมากที่จะมีโอกาสได้ทำในอนาคต..
    ไม่มีประสบการณ์ด้านนั้นมาก่อนโดยตรง แต่พร้อมที่จะเรียนรู้ และอยากหาประสบการณ์เพิ่มเติม
  17. อย่าพูด ให้ร้ายบริษัทอื่น หรือ หัวหน้าเก่า
  18. อย่าขำ จนเกินงาม Keep Professional Look
  19. อย่านั่งเขย่าขา หรือ ไม่สบตากับกรรมการ
  20. อย่าเอามือมาวางบนโต๊ะ ในวางบนตักของตัวเอง
  21. จงรู้ทัน คำถามสัมภาษณ์งานเชิงจิตวิทยา
  22. รู้จัก มารยาทสากล ในที่ทำงาน
  23. รู้ว่า บุคลิกภาพ หรือ Personality แบบไหนที่เหมาะสมกับแต่งงานที่เรากำลังจะสมัคร
  24. ถ้าโดนให้พูด สิ่งที่ไม่ชอบ ประสบการณ์ที่เลวร้ายในการทำงานต่างๆ ให้ตอบว่าได้เรียนรู้อะไรจากมัน
  25. ตอบให้ได้ว่า ทำไมคุณถึงอยากทำงานที่นี่
  26. ตอบให้ได้ว่า ทำไมเราถึงควรเลือกคุณ
  27. ตอบให้ได้ว่า คุณเข้าใจอะไรเกี่ยวกับตำแหน่งนี้บ้าง
  28. ตอบให้ได้ว่า อนาคตคุณวางแผนชีวิตไว้อย่างไร
  29. เมื่อสัมภาษณ์เสร็จ อย่าลืมกล่าวขอบคุณกรรมการ
  30. เดินออกจากห้องสัมภาษณ์ให้ งดงาม

หลังวันสัมภาษณ์งาน

แอร์แขก เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญ เตรียมพร้อมสัมภาษณ์งาน  สำหรับคนที่

  • เด็กจบใหม่ ไม่เคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน
  • ห่างหายจาก การสัมภาษณ์งานมานานแล้ว
  • สมัครงานกี่ครั้งก็ไม่ผ่าน

บางที เราอาจจะไม่เห็นจุดบอด หรือ ข้อเสียของตัวเองก็ได้ การที่มีผู้เชี่ยวชาญมาดูแล และ คิดคำตอบให้คุณในครั้ง ใหม่ จะทำให้คุณได้งานได้เร็วขึ้น และ ประหยัดเวลามากขึ้นในการเตรียมเตรียม

เพราะ งานที่ดี รายได้สูง เค้าแข่งขันกันตั้งแต่ทำเรซูเม่ แล้วค่ะ เดี๋ยวนี้ ระบบ HR พัฒนาไปมากมาย ไม่มีคนมานั่ง อ่านเรซูเม่ ของเราแล้ว เมื่อเรายื่น ในระบบของบริษัท แต่เค้าจะใช้ระบบ ATS Friendly Resume ซึ่งเป็น AI ในการคัดกรอก เรซูเม่ของคุณ อ่านต่อ ATS Friendly Resume คืออะไร

ซ้ำไปกว่านั้น การสัมภาษณ์งานสมัยนี้ ก็ด้วยระบบสัมภาษณ์งานออนไลน์ ซึ่งจะมี AI มาคัดกรอก คำตอบของเราอีก อ่านต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

ติดต่อทำ Resume/CV/Cover Letter/ Recommendation Letterติดต่อจอง ปรึกษา เตรียมพร้อมสัมภาษณ์งาน

หลังวันสัมภาษณ์งาน

  1. ให้กลับมาเขียน อีเมลขอบคุณสำหรับการสัมภาษณ์ กลับไปขอบคุณบริษัท
  2. พร้อมระบุว่าตั้งหน้าตั้งตารอ การตอบรับ 
  3. คอยเช็ค อีเมลอยู่ตลอด สำหรับการตอบรับ
  4. คอยเปิดโทรศัพท์มือถือ อยู่ตลอด เพื่อบริษัทติดต่อกลับขอเอกสารเพิ่มเติม
  5. ไปฉีดวัคซีน ให้ครบเข็ม เพราะหลายบริษัทจะขอให้ เราไปฉีดวัคซีน ก่อนเข้าทำงาน
  6. ติดตามรอผล จนประกาศผล
  7. ถ้าผ่าน ก็รีบไปตรวจสุขภาพ ตามคำแนะนำของบริษัท
  8. ถ้าไม่ผ่าน ให้พยายามนึกว่า วันที่สัมภาษณ์ กรรมการถามว่าอะไร แล้วเราตอบว่าอะไร
  9. แล้ว เอาสิ่งเหล่านั้นมาวิเคราะห์ 
  10. ถ้าไม่ทราบว่าดีหรือไม่ ติดต่อแอร์แขก ว่า ทำไมสัมภาษณ์ไม่ผ่าน
    (เรามี Career Consultation ให้เพื่อ ช่วยคุณวิเคราะห์ว่า ทำไมคำตอบของคุณในการสัมภาษณ์งานนั้นไม่ผ่าน เพื่อจะได้รับการแก้ไข และ เริ่มต้นสมัครงานครั้งใหม่ และ ได้งาน )