การทำ Group Discussion สัมภาษณ์แอร์ สจ๊วต

รายละเอียด การทำ Group Discussion แอร์โฮสเตส

Group Discussion แอร์

การทำ Group Discussion แอร์ คือ

คือ  การอภิปรายกันในกลุ่ม มักจะเจอในรอบ 2 หรือ วันที่ 2 ขึ้นไป สายการบินที่ใช้มักจะเป็น สายการบินแขก เช่น กาตาร์ เอมิเรตส์ โอมาน จะให้ผู้เข้าสมัคร จับกลุ่มกัน แล้วกรรมการจะ ยื่น หัวข้อให้ เรามา Discuss หรือ อภิปราย กันภายในกลุ่ม โดย จะจับเวลา ว่าให้ทำกี่นาที พอหมดเวลา จะต้องส่งตัวแทนไป พรีเซนต์ หน้าห้อง

รีวิว รอบ Group Discussion แอร์ สายแขก 

พี่จำได้ว่าในวันสัมภาษณ์แอร์ ตอนนั้นคือ จิตใจของพี่มันปั่นป่วนไปหมด ซึ่งมันจะป่วนหนักสุด ตรง รอบกรุ๊ป นี่แหละ เพราะว่า ไม่รู้ว่าจะต้องไปเจอ หัวข้อ อะไรบ้าง ซึ่ง ใน รอบ Group Discussion กรรมการเค้าจะดูหมดเลย ว่าเรา ปฏิบัติตัวอย่างไร ภายในกลุ่ม ซึ่ง สิ่งที่หลายคนมักจะกังวล ในรอบนี้คือ

สิ่งที่ หลายคนกังวล ใน รอบ Group Discussion สมัครแอร์

“เราจะต้องทำอะไรบ้าง?”
“เพื่อนร่วมทีมจะเป็นยังไง?”
“เพื่อนในทีมจะพูดสนับสนุนเราไหม หรือจะพูดไปอีกแนวที่ขัดแย้งกันกับเรา”?
“เราจะจัดการยังไง ถ้าโดนแย้ง ระหว่างที่ ทำ Group อยู่?”
“เราจะทำให้พูดออกมาได้ดีไหมด หรือ จะพูดอะไรที่ไม่ควรพูด จะปล่อยไก่รึเปล่า?”
“กรรมการเค้ากำลังมองหาอะไรอยู่ จริงๆแล้ว และ พวกเขาจะรู้ได้ยังไงว่า เราจะตอบได้ตรงจุด ที่ตรงกับ งานแอร์ สจ๊วต จะตอบแล้ว มันดูแย่ รึเปล่า?”

คือแบบ นี่คือ ความกังวล ของทุกคน ที่ทำรอบนี้ เพราะ ไม่รู้จะตอบยังไง แล้ว หัวข้อ Group Discussion แอร์ ส่วนใหญ่ ก็จะแบบ อันนั้นก็ดี อันนี้ก็ใช่ มักจะให้ โจทย์ มาแบบ ให้เรา ตัดสินใจยากๆ รักพี่ เสียดายน้อง ดังนั้น

เราจึงจะต้องรู้ทันหัวข้อ มีไหวพริบ และ รู้ว่าจะตอบอะไร ให้ตัวเองดูดี แต่ไม่ดู เด่นเกินไปอีกเช่นกัน

การทำ Group Discussion กรรมการวัดอะไร ?

กรรมการ จะใช้สถานการณ์จำลองนี้ ในการเฟ้นหาผู้เข้าสมัครที่มี่ศักยภาพในการจัดการทางด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่ สำคัญ ในการทำงานเป็น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน รวบรวมมาให้ มีดังนี้

  1. พูดตรงหัวข้อ (Being Relevant to the Topic)
  2. มีภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)
  3. รู้จักฟังอย่างตั้งใจ (Listening Skill)
  4. มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ( Effective Communication Skill)
  5. เข้าใจภาษากาย (Body Language)

เป็นต้น ซึ่ง จริงๆแล้ว มีสิ่งที่ต้องระวัง อีกมากมาย อยากมี คนคอยช่วย Guide ในรอบนี้
ติดต่อ เรียน Group Discussion กับ Airkhaek ได้ที่ Line นี้ เพื่อสอบถาม รายละเอียด เพิ่มเติม

หัวข้อ Group Discussion

ความหมายของ Group Discussion อธิบายง่าย คือ

Group คือ กลุ่มคน ที่รวมตัวกัน มากกว่า 2 คนขึ้นไป

Discussion คือ การอภิปราย สนทนาพูดคุย ถก กันเรื่องใด เรื่องหนึ่ง หัวข้อใด หัวข้อหนึ่ง 

เอามารวมกัน เป็น Group + Discussion = การอภิปราย เป็นกลุ่ม

รอบ Group Discussion แอร์ 

สายการบิน มีการนำ การอภิปราย กลุ่ม มาใช้ ในการสร้างสถานการณ์ ให้ผู้เข้าสมัคร ทำกิจกรรม ร่วมกัน มาใช้ เป็นส่วนหนึ่งในการสัมภาษณ์งาน ซึ่งมักจะอยู่ในรอบ ที่ 2 หรือ วันที่ 2 ของการสัมภาษณ์งาน ที่ไปเจอกรรมการ

โดย จะมีการวัด ลักษณะบุคลิคภาพ ของผู้เข้าสมัครแอร์โฮสเตส / สจ๊วต จากการทำรอบกรุ๊ป นี้ โดยกรรมการ จะแบ่งผู้เข้าสมัครออกมาเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยกรรมการ จะเปิดโอกาส ให้ผู้เข้าสมัครแลกเปลี่ยนบทสนทนา สามารถแสดงทัศนคติ ออกมาได้อย่างเต็มที่ จาก หัวข้อ Group Discussion ที่กรรมกากำหนดให้

ซึ่งบางครั้ง อาจจะมาในรูปแบบ คำถามเชิงจิตวิทยา บ้างหล่ะ
ยกตัวอย่างสถานการณ์ยากๆ บ้างหล่ะ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้น้องๆ เข้าใจแนวทางการตอบมากขึ้น คือ น้องๆต้องรู้ก่อนว่า งานแอร์โฮสเตสนั้น จะต้องเจอกับอะไรบ้าง เพื่อเป็นไอเดีย ในการตอบคำถามในรอบ Group Discussion

โดยที่ ภายในกลุ่ม จะต้องพยายามหา ข้อสรุป และ ส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอ ข้อสรุปที่ได้ภายในกลุ่ม

การทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จะต้องดีล หรือ ติดต่อกับคนจำนวนมาก และ หลากหลายสถานการณ์ ไม่ซ้ำกันในแต่ละวัน ไฟล์ไปที่ๆเดียวกัน แต่ผู้โดยสารต่างกัน ลูกเรือ เพื่อนร่วมงานต่างกัน ก็ทำให้ไฟล์สองไฟล์ ที่ไปในจุดหมายเดียวกัน ต่างกันได้แล้วค่ะ

พวกเราชอบกล่าวกันว่า There are no two flight the same !

ซึ่งการทำงานบนเครื่องบิน จะต้องกดดันกับเวลา สภาพภูมิอากาศ หรือ ปัจจัยความเครียดอื่นๆ อีก เช่น จะต้องติดต่อสื่อสารกับผู้คนที่มาจากทั่วทุกสารทิศ แต่ละคนมี ภูมิหลัง หรือ ตำแหน่งที่แตกต่างกันไป รวมไปถึงจะต้องฟังทั้ง คำสั่ง จากหัวหน้า กัปตัน หรือเพื่อนร่วมงาน รวมทั้ง คำวิจารณ์ (complaints) ต่างๆ อีก แถมยังต้องมีทักษะในการตัดสินใจที่รวดเร็วอีกด้วย

ซึ่งทั้งหมดนี้ กรรมการจะต้องเห็นว่า น้องๆมีความสามารถในการรับมือกับสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ ในฐานะลูกเรือค่ะ

หัวข้อ Group Discussion แอร์

ข้อควรรู้ในการทำ Group Discussion

ใน การทำ Group Discussion น้องๆและเพื่อนๆในกลุ่ม 8-12 คน จะได้รับหัวข้อที่ซัับซ้อนในการจัดการปัญหา โดยผู้เข้าสมัครทั้งหมดจะแสดงบุคลิกภาพของตนเองออกมาฟาดฟันกัน :

บางคนจะพูดดังออกมา เป็นหัวหน้ากลุ่มแสดงความมีอำนาจเหนือผู้อื่น ในขณะที่คนอื่นๆอายและสงวนท่าทีไว้ ซึ่งพฤติกรรมของเราในกลุ่มนี้เอง จะเป็นตัววัดและประเมิณผลว่า ผู้เข้าสมัครคนนั้นๆ จะประพฤติตัวอย่างใร ในสภาพแวดล้อมของการทำงานในอนาคต ที่อาจจะต้องเจอสถานการณ์ที่คับขัน และต้องจัดการกับปัญหา

นอกจากนี้ กรรมการยังประเมิณได้อีกว่า น้องๆจะทำตัวอย่างไรในบางสถานการณ์ น้องๆจะถูกประเมิณเกี่ยวกับสมรรถภาพต่อไปนี้:

  • ความคิดการเติบโต      (Growth Mindset)
  • ความคิดเชิงบวก        (Positive Thinking)
  • การทำงานเป็นทีม       (Teamwork)
  • การจัดการเวลา         (Time-Management)
  • การฟังที่ใช้งานอยู่       (Active Listening)
  • ความคิดริเริ่ม            (Initiative)
  • แรงจูงใจและความกระตือรือร้น        (Motivation and Enthusiasm)
  • ความคิดสร้างสรรค์      (Creativity)
  • การตัดสินใจ              (Decision-Making)
  • การรับรู้ทางวัฒนธรรม   (Cultural Awareness)

อะไรคือสิ่งที่จะสร้าง Team Work ที่ดี ที่จะช่วยทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ทุกคนในทีมจะต้องเข้าใจงานและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • มีความสมดุลระหว่าง “สิ่งที่เราต้องทำ” กับ “เราจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้อย่างไร”
  • สมาชิกในกลุ่มฟังซึ่งกันและกันและความคิดของทุกคนจะได้รับการรับฟัง
  • มีบรรยากาศที่สนับสนุนซึ่งสมาชิกในกลุ่มรู้สึกสบายใจที่จะพูดในสิ่งที่พวกเขาคิด
  • ภายในกลุ่มมีการแบ่งงานที่ชัดเจน ไม่แย่งหน้าที่กัน ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด และส่งเสริมให้งานสำเร็จได้ไวขึ้น เช่น มีหัวหน้างาน , นักวางแผน และ นักสร้าง ฯลฯ

อะไรที่จะทำทำให้ทีม ไม่มีประสิทธิภาพ?

  • มีคนพูดมากกว่ามีคนฟังซึ่งจะทำให้สมาชิกในกลุ่มบางคนไม่มีส่วนร่วม หรือรู้สึกร่วมด้วย
  • ไม่ได้แบ่งแยกหน้าที่บทบาทของคนในทีม
  • มีข้อโต้แย้งระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
  • ขาดความไว้วางใจและมีน้ำใจช่วยเหลือกัน
  • มีเพียงสมาชิกเพียงหนึ่ง ถึงสองคนเท่านั้นในการตัดสินใจให้กับทั้งกลุ่ม

Group Discussion

10 เคล็ดลับ การทำให้ผ่าน รอบ กรุ๊ป ดิชคัชชั่น (Group Discussion)

1. จำชื่อเพื่อน และ เรียกชื่อเพื่อนในกลุ่ม

ทุกคนในกลุ่มจะมีป้ายชื่อ ให้อ่าน เมื่อน้องๆต้องการพูดกับสมาชิกในกลุ่ม นี้จะแสดงว่าน้องๆสุภาพและมีมารยาทที่ดี และยังให้ความสนใจกับรายละเอียดต่างๆ

2. ริเริ่ม

อาสาในการอ่านหัวข้อที่กรรมการให้ หรืออาสาเขียนบันทึกหรือจับเวลา อย่างไรก็ตามถ้าน้องๆ ได้รับอาสารับผิดชอบส่วนใดส่วนหนึ่งนี้แล้ว จะต้องมั่นใจว่าทำออกมาได้ดีและ ทำจนจบ ถ้าน้องๆ มีความรับผิดชอบในการรักษาเวลา อย่ากลัวหรือ ลังเล ที่จะแจ้งเตือนสมาชิกในทีมว่าเหลืออีกเพียง 5 นาทีเท่านั้น แต่ถ้าน้องๆได้รับหน้าที่ให้จับเวลา แต่ดันไม่กล้าบอกเพื่อน จนทำงานเกินเวลา สิ่งที่น้องอาสานี้ อาจจะให้น้องๆดูไม่ดี มากกว่าค่ะ ดังนั้น เรารับหน้าที่ทำอะไรก็จะต้องมั่นใจว่าเราทำออกมาได้ดีที่สุดค่ะ

3. Active และเป็นส่วนหนึ่งของทีม

น้องๆจะต้องพูดขึ้นมาบ้าง และ แสดงความเห็นออกมาด้วย เพื่อแสดงออกว่ายังเป็นส่วนหนึ่งของทีม พยายามที่จะมีส่วนร่วมด้วย โดยไม่เพียงแต่ คอยตอบสนับสนุนเพื่อนเท่านั้น ต้องแสดงความคิดเห็นของตัวเอง ออกมาด้วย แต่ในขณะเวลาเดียวกันอย่าเป็นคนเดียวที่พูดหรือแสดงความคิดเห็น

4. มีนาฬิกาและใช้งานมันให้ดี

ที่สำคัญที่สุด สำหรับ การทำกรุ๊ป คือ จะมีเวลาอยู่อย่างจำกัด หากน้องๆเป็นผู้จับเวลา ให้ระวัง และตระหนักว่าจะต้องทำงานให้เสร็จ ทันเวลาที่กำหนด

5. คุณภาพและปริมาณ

อย่าเอาแต่พูด ๆ พูดเพียงเพื่อจะทำให้เราดูดีดูฉลาด แต่จะต้องพยายามพูดเพื่อช่วยกลุ่มของตัวเองด้วย ค่ะ  จุดสำคัญของการประเมินผลแบบนี้ เค้าไม่ได้ดูว่าเราพูดผิดหรือพูดถูก แต่เค้าดูว่า เราตอบสนอง หรือ ปฏิบัติตัวอย่างไร กับเพื่อนในกลุ่มมากกว่าค่ะ

6. เป็นตัวของตัวเอง

ในรอบกรุ๊ป เค้าไม่ได้ประเมินน้องๆ จากความรู้ที่น้องมี แต่เค้าต้องการดูต่างหากว่า เรามีความคิดอย่างไรต่อสถานการณ์ต่างๆ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องแกล้งรู้ หรือ พยายามรู้ โดยไม่เป็นตัวของตัวเองนะคะ ในการสมัครแอร์ มันซับซ้อน และมีหลายขั้นตอนมากที่กรรมการเค้าจะพยายามรู้จักตัวตนของเรา ดังนั้นเป็นตัวเองจะดีที่สุดค่ะ

7. ทำให้มันดูสนุก

พยายามทำให้บรรยากาศให้สดชื่นและไม่ตึงเครียด ทำมันบรรยากาศมันดูสนุกเข้าไว้ค่ะ ถึงแม้ว่า เวลา 5 นาที ที่คุยกันในกลุ่มจะคุยตกลงกันได้ไม่ดี หาทางออกกันในกลุ่มไม่ได้หรืออย่างไร ก็ให้ยิ้มสู้ไว้ก่อนค่ะ

8. พยายามสร้างบรรยากาศ ให้มีพลังงานดีๆ (Positive Atmosphere)

ถ้าเราสามารถเป็นคนที่ พูดอะไร หรือ ริเริ่ม กันภายในกลุ่มแล้วทำให้สถานการณ์ที่ตึงเครียดนั้น ผ่อนคลายลงมาได้ พี่รับรองว่า น้อง จะได้คะแนนเต็มไปเลย กับการทำรอบกรุ๊ป

หัวข้อ Group Discussion แอร์

ตัวอย่าง หัวข้อ Group Discussion แอร์

ตัวอย่างที่ 1

คุณอยู่บนเรือที่มี 12 คน และกำลังจะจม แต่มีเรือกู้ภัยลำเล็กๆ ที่จะมีเพียง 8 คนเท่านั้นที่จะพอกับเรือกู้ภัยลำเล็กนี้ กลุ่มของคุณต้องหารือกันว่าใครจะได้ขึ้นไปบนเรือกู้ภัย  คุณมีเวลา 15 นาทีในการตัดสินใจ

ตัวอย่างที่ 2

เรือของคุณต้องทำการลงจอดฉุกเฉินบนดวงจันทร์ มีอุปกรณ์ต่อไปนี้ให้กับคุณ:

  • ไฟฉาย
  • ร่มชูชีพ
  • น้ำ
  • เข็มทิศ
  • กระดาษ

เลือกรายการลำดับความสำคัญสามรายการที่คุณจะนำติดตัวไปจากเรือ เมื่อกลุ่มของคุณได้ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้เขียนลงบนกระดาษ คำตอบคุณมีเวลาทำ 15 นาที

ตัวอย่างที่ 3

คุณมีลูกเรือ เป็นกลุ่มดังนี้:
Mayuka – อายุ 22 ปี – เป็นคนญี่ปุ่น     – สูบบุหรี่
Marium – อายุ 24 ปี – เป็นคนสหรัฐฯ   – สูบบุหรี่
Anna    – อายุ 29 ปี – เป็นคนเคนยา    – ไม่สูบบุหรี่
Iman    – อายุ 27 ปี – เป็นคนโมร็อกโก  – ไม่สูบบุหรี่
Graham – อายุ 25 ปี – เป็นคนอียิปต์    – สูบบุหรี่
Yen     –  อายุ 22 ปี – เป็นคนจีน       – ไม่สูบบุหรี่
กลุ่มของคุณคือ Housing ของสายการบิน จะต้องตัดสินใจว่าจะต้องจับคู่ หาห้องพักให้ให้กับลูกเรือ กลุ่มดังกล่าว จำนวนสองห้องนอน โดยคุณจะต้องระบุเหตุผลในการตัดสินใจดังกล่าวของคุณ และอธิบายเกณฑ์สำหรับการจับคู่ ของคุณโดยใช้เวลาเพียง 15 นาที

ตัวอย่างที่ 4

คุณกำลังทำไฟล์ London – Dubai และมีคอมเพลน จากผู้โดยสายดังต่อไปนี้ :

1 A – Mr. Smith   – เป็นผู้โดยสารที่บินบ่อยๆ กับสายการบิน
บ่นว่า เค้าไม่ได้ที่นั่งที่มีที่เหยียดขา
10 C – Mrs. Jones – เดินทางพร้อมกับเด็กทารกแต่ม่ได้รับของเล่นสำหรับเด็ก
12 H  – Mr. Roger  – ทีวีไม่ทำงาน
14 K – Mr. Ford     – ไม่ได้รับอาหาร Special Meal สำหรับคนเป็นเบาหวาน

ให้คุณลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหาข้อร้องเรียนเหล่านี้ และจะต้องนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา
กลุ่มมี 20 นาทีในการตัดสินใจ

นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของงานที่คุณจะต้องปฏิบัติตามในระหว่างวันประเมินลูกเรือของห้องโดยสาร

ตอนนี้น้องๆก็พอจะรู้แล้วว่า กรรมการ คาดหวังที่จะเห็นอะไรในตัวน้อง ในระหว่างที่ทำกรุ๊ป ให้น้องๆลองถามตัวเองว่าเรามีสิ่งเหล่านี้ไหม ?

“บทบาทของฉันในกลุ่มคืออะไร?”
“ฉันเป็นผู้เล่น หรือ ผู้สังเกตการณ์?”
“ฉันเป็นคนที่โดดเด่นรึเปล่า?”
“ฉันควรจะมีส่วนร่วมมากขึ้นไหม?”
“ฉันควรจะมีบทบาทมากขึ้นหรือไม่?”
“ฉันควรจะสนับสนุนความคิดของเพื่อนในกลุ่มไหม?”