SWOT (สวอท) คือ อะไร

SWOT (สวอท) ย่อมาจาก Strengths (จุดแข็ง), Weaknesses (จุดอ่อน), Opportunities(โอกาส), และ Threats (อุปสรรค) ในภาษาอังกฤษ บางคนเรียก การวิเคราะห์ สวอท หรือ SWOT Analysis คือ เทคนิคที่ใช้ในการประเมิณตำแหน่งทางการแข็งขัน ของ บริษัท ว่าบริษัทเนี่ย มีจุดแข็ง จุดอ่อน อะไรบ้าง เพื่อวางแผนทางการตลาด ต่อสู้ กับ คู่แข่ง ในตลาดนั้นๆ

ใช้เทคนิค SWOT อย่างไร ในการสัมภาษณ์งาน

นอกจาก SWOT จะเป็น เทคนิคที่นิยม เอามาวิเคราะห์ ประเมิณ ตำแหน่งการแข่งขันของบริษัทแล้ว เราก็สามารถ เอา SWOT มาใช้ประโยชน์ ในการวิเคราะห์ ประเมิน ตัวเอง ได้ด้วยเช่นกัน

เราจะใช้ เทคนิค SWOT เพื่อ หาจุดแข็ง จุดอ่อน ของตัวเอง โดยเฉพาะ เอามาใช้เมื่อ ต้องการเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ที่จะต้องแข่ง กับคนเป็น ร้อยๆ พันๆ คน กับ ตำแหน่งงาน ที่ใครๆ ก็อยากได้

เราต้องรู้จัก วิธีการ ทำตัวเองให้โดดเด่น เข้าตากรรมการ และ ให้มากที่สุด เพื่อ ต่อสู้ กับ การสัมภาษณ์งาน ในรอบนั้นๆ ว่าเราจะวางตัวเองยังไง ให้โดดเด่น และ โดนเลือก ในกรณีที่ บริษัท ที่เราไปสัมภาษณ์ นั้นมีตัวเลือก มากมาย ที่จะรับคนเข้าทำงาน

swot

SWOT - Strengths จุดแข็ง ของ ตัวเอง

การวิเคราะห์ จุดแข็ง หรือ Strengths ใน ภาษาอังกฤษ เป็น สิ่งที่ผู้ที่เตรียมสัมภาษณ์งาน ควรที่จะ เตรียมตัว หาคำตอบ ไว้ในใจว่า ว่า จุดแข็ง หรือ จุดเด่น ของคุณ คือ อะไร What is your strengths ?

วิธีการหา จุดแข็ง ของตัวเอง

เราจะเริ่มหา จุดแข็ง ของตัวเอง จากการ พยายามมองตัวเองใน แง่บวก ว่า เรามีดีอะไรบ้าง อะไรเป็นจุดขาย ของตัวเราเอง ซึ่งในที่นี้ พี่ขอแบ่ง จุดแข็ง ของตัวเอง ไว้ 2 หมวดหมู่ ด้วยกัน นั่นก็คือ Soft Skills กับ Hard Skills

  • Soft Skills คือ ลักษณะนิสัย ลักษณะบุคลิกภาพ ยกตัวอย่างเช่น ความเป็นผู้นำ ความกล้าแสดงออก ความสามารถในการจัดการเวลา เป็นนิสัยส่วนบุคคล อารมณ์ เป็นคนแบบไหน ?
  • Hard Skills คือ คุณสมบัติ ศักยภาพ ทักษะที่ สามารถเรียนรู้กันได้ ทางเทคนิค ยกตัวอย่างเช่น ความสามารถทางคอมพิวเตอร์ ความสามารถในการพูดภาษาที่สาม ทักษะพิมพิ๋เร็ว การตัดต่อวีดีโอ การถ่ายรูป เป็นต้น

ซึ่ง ทั้ง Soft Skills และ Hard Skills นี้ แหละค่ะ เป็นจุดเริ่มต้น ง่ายๆ ในการหา จุดแข็ง จุดเด่น ของตัวเอง ที่เกี่ยวข้อง กับการส่งเสริม ในหน้าที่การงาน ที่ต้องรับผิดชอบ ที่จะช่วยทำให้เราสามารถทำงาน กับเพื่อนร่วมงาน หรือ ทีม ของเราได้ดีขึ้น

อย่าลืมว่า จุดแข็ง ของเรา ไม่ใช่ทักษะ ความสามารถในการทำงานเท่านั้น เช่น ถ้าเราตอบว่า จุดเด่น ของฉัน คือ การถ่ายภาพเก่ง ตัดต่อวีดีโอเก่ง ทำงานเนี๊ยบ ทำงานเร็ว เรียนรู้ไว แต่ !!! ดั๊น เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ไม่สามารถนำทีมได้ ขัดกับทุกคนในทีม ขวางโลก ขอบอกเลยว่า มันก็เป็นอะไรที่ยาก ที่บริษัท นั้นๆ จะเลือกคุณเข้าทำงาน เพราะ ทุกธุรกิจ ต้องการ พนักงานที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ต้องการความแตกแยก ดังนั้น อย่าลืม

เวลามีคนมาถาม อะไรคือ จุดแข็ง ของคุณ ?

อย่าลืม พ่วง Soft Skills เหล่านี้ไปตอบด้วย

SWOT - Weakness จุดอ่อน ของ ตัวเอง

การวิเคราะห์ จุดอ่อน หรือ Weakness เป็นอีกสึ่งหนึ่ง ที่ ผู้ที่เตรียมตัวเข้าสัมภาษณ์งาน ทุกคนควรเตรียม หา จุดอ่อน หรือ ข้อด้อย ของตัวเอง ไว้ในใจ

เพราะ นี่อาจจะเป็น หนึ่ง ในคำถามสัมภาษณ์งาน ที่ ยากที่สุดคำถามหนึ่งเลย เมื่อจู่ๆ มีคนมาถามเราว่า “จงบอก จุดอ่อน ของคุณ ” โดยเฉพาะ คนที่ถามเรานั้น เป็น กรรมการ สัมภาษณ์งาน ที่เราอยากจะพูดถึง แต่ ข้อดี หรือ จุดแข็ง ของตัวเอง เพื่อ สร้างความประทับใจ เค้า พวกเค้า รับคุณเข้าทำงาน แต่ ดั๊น ต้องมาตอบคำถาม “อะไรคือจุดอ่อนของคุณ” หรือ What is your weakness?

ทำไม เรา ควรตอบ จุดอ่อน ของตัวเอง เวลาสัมภาษณ์งาน

ใครจะอยากพูดถึง จุดอ่อน ของตัวเอง ในขณะที่ มี คนรอเข้าสัมภาษณ์งาน ในตำแหน่งเดียวกัน อีก 10-20 คน นอกห้องสัมภาษณ์

แต่คุณ รู้หรือไม่ว่า การที่คุณ สามารถตอบ จุดอ่อน ของคุณได้ อย่างถูกต้อง จะทำให้คุณ มีโอกาส เข้าทำงาน มากขึ้น อีก เพราะ นั่นเป็นการแสดง ให้กรรมการเห็นว่า

  1. คุณ รู้จักตัวเอง ดีพอ
  2. คุณ รู้จักพัฒนาตัวเอง เรียนรู้จุดอ่อน และ แก้ไข
  3. คุณ สามารถเปลี่ยน จุดอ่อน มาเป็น จุดแข็งได้

ตัวอย่าง การตอบ จุดอ่อน ของตัวเอง เวลา สัมภาษณ์งาน

  • ปฏิเสธคน ไม่ค่อยเป็น
  • เป็นคนที่ละเอียดเกิน
  • เป็นคนที่บางครั้งขาดความมั่นใจ

เป็นต้น แต่ หลังจากที่เรา ตอบ จุดอ่อน เหล่านี้ออกมาแล้ว กรรมการ สัมภาษณ์งาน ก็มักจะเป็นคน ขี้สงสัย ชอบถามต่อว่า อ้าว แล้ว คุณทำยังไงกับมันหล่ะ แล้วถ้า คุณทำงานกับเรา ปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้นไหม

ซึ่ง ตรงจุดนี้ เราก็จะต้องเตรียมคำตอบไว้ด้วยว่า เราได้แก้ไข จุดอ่อน เหล่านั้น ของเรายังไง แล้วตอนนี้ ดีขึ้นไหม เรียนรู้อะไร จากจุดอ่อน เหล่านั้น คือ ต้องพยายาม พูด จุดอ่อน แนวที่ว่า เราได้เรียนรู้ อะไร จากมันบ้าง

เคล็ดลับในการ พูดจุดอ่อน ของตัวเอง คือ

  • อย่าพูด ปัญหาที่เป็น Soft Skill เช่น ฉันมาทำงานไม่ตรงเวลา ฉันไม่ซื่อสัตย์ ฉันชอบโกหก คุณพระ !! ตอบแบบนี้ คือมันเป็นลักษณะ นิสัยส่วนบุคคล จะแก้ ยังไง ถ้าเป็นคนแบบนี้ ดังนั้น อย่าเอา ปัญหา Soft Skill มาตอบ
  • พูดถึงจุดอ่อน ที่ เราหาทางออก ให้มันได้แล้ว คือ โอเค นี่คือ จุดอ่อน ของฉัน และ ฉันจัดการมันอย่างไร ตอนนี้ฉันดีขึ้น แล้ว ควรจะดีขึ้น มากกว่า 70 %
  • พูดถึง จุดอ่อน ที่ ตอนนี้ กลายมาเป็น จุดแข็ง ของตัวแล้ว เพราะแทนที่จะได้ ตอบจุดอ่อน ตัวเอง ยังได้เปิด โอกาส ให้ตัวเอง ตอบ จุดแข็ง ของตัวเอง

SWOT - Opportunities โอกาส ของ ตัวเอง

O Opportuniteis ตัวย่อ ของ SWOT โอกาส ของ ตัวเอง ในที่นี้ โดยหลักการ ของการ วิเคราะห์ ตัวเอง SWOT หมายถึง ปัจจัย ภายนอก ที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง ที่ทำให้ เราได้มีโอกาส หรือ ข้อได้เปรียบในชีวิต กับ คู่แข่ง วิธีการง่ายๆ ในการ วิเคราะห์ ด้วยหลังกการ สวอท SWOT ในข้อนี้ คือ หลักการนับถือตนเอง มันอาจจะเริ่มมากจากสิ่งเล็กๆ ที่เป็น ปัจจัยภายนอก ที่ทำให้เราได้เปรียบกว่าคนอื่น

อันนี้ ขึ้นอยู่กับ จินตนาการ ของแต่ละคนเลยค่ะ ว่า คุณ สามารถ มองเห็น โอกาส หรือ ขอได้เปรียบ ของตัวเอง มากกว่าคนอื่น จนสามารถ เอามาพูด กับ การสัมภาษณ์งานได้ไหม

ตัวอย่าง โอกาส ในชีวิต เช่น

  • มีโอกาส ได้ ทำงานพาร์ตทาม ตอนเด็กๆ ทำให้ตอนนี้ เป็นคนที่ พิมพิ์เร็วมาก (ถ้าสมัครงาน เกี่ยวกับ ไอที ที่เค้าต้องการ คนที่มีทักษะ พิมพิ์เร็ว เราก็จะได้เปรียบตรงนี้)
  • มีโอกาส ได้ ไปเรียนแลกเปลี่ยน วัฒนธรรม ที่ต่างประเทศ ทำให้เข้าใจวัฒนธรรม ของคนชาตินั้นๆ มากขึ้น
  • มีโอกาส ได้ทำงานเป็นเลขา ของเจ้านาย ที่เป็นคนที่เอาแต่ใจ มากๆ เลยทำให้ สามารถรับมือ กับ สถานการณ์ที่ตึงเครียด หรือ ลูกค้า ที่เอาแต่ใจได้ โดยที่ไม่ได้เครียด ตามไปด้วย

คือนึกออกไหมว่า ว่า ทุกสิ่ง ทุกอย่าง คือโอกาส ไม่ว่าเรา จะอยู่ในสถานการณ์ที่แย่ ขนาดไหน เช่น ปี 2020 มี โควิท19 ระบาด แต่ นั่นคือ โอกาส ที่ทำให้เราได้ทำงานจากบ้าน ทำให้เรามีโอกาส หันมาจาก จับ Software ต่าง ในการ พรีเซ็นต์งาน ออนไลน์

ทุกวิกฤต คือ โอกาส อยู่ที่เรามอง แล้วหล่ะค่ะ ตรงจุดนี้ ว่า เราจะ มองเห็น โอกาส เหล่านั้น มาทำให้เป็นประโยชน์ ต่อชีวิตเรา ไหม

SWOT - Threats อุปสรรค ของ ตัวเอง

ตัวย่อ ตัวสุดท้าย ของ สวอท คือ T Threats หรือ อุปสรรค ซึ่งนี่ เป็น ปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ และ ส่งผลเสีย ต่อ ตัวเอง แต่ อย่าลืมว่า เราสามารถ ลดทอน ผลกระทบของผลเสียเหล่านั้นได้

ไม่ว่าเราจะ ป้องกัน หรือ ระวัง มากแค่ไหน แต่อย่าลืมว่า อะไรมันจะเกิด ก็ต้องเกิด ดังนั้น ถ้าเรา รู้จักการจัดการกับ อุปสรรค ของตัวเอง ที่เกิดขึ้น ได้อย่างชาญฉลาด ก็จะ ทำให้ไม่เกิดผลกระทบ หรือ เกิดผลกระทบน้อยลงได้

ตัวอย่าง อุปสรรค ในชีวิต เช่น

  • จู่ๆ มีงานเข้ามาถาโถม โดยไม่ได้ตั้งตัว
  • จู่ๆ หน้าที่ ในการทำงานก็เปลี่ยนแปลงไป
  • จู่ๆ ก็มีผลกระทบโควิท โดนเลิกจ้าง
  • จู่ๆ ก็มีก็โดนไล่ออก

ปัญหาเหล่านี้ ที่เราไม่ได้ทันตั้งตัว เป็น อุปสรรค ในชีวิต เราจัดการมันอย่างไร ซึ่ง ถ้าเรา สามารถ จัดการปัญหาต่างๆ ที่คาดไม่ถึงเหล่านี้ได้ เชื่อเถอะค่ะว่า ว่า ใครๆ ก็อยากได้เราเข้าไปทำงาน

เพราะแน่นอน อยู่แล้ว บริษัท ไม่ว่าจะมั่นคง ขนาดไหน ก็สามารถสั่นคลอนได้ เป็นธรรมดาของธุระกิจ แต่ ใครที่ จู่ๆ เจอปัญหา อุปสรรค ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่สามารถ ตั้งสติ คิดหาหนทางแก้ไข ได้ รับรองว่า คนๆ นั้น สามารถอยู่ที่ไหนก็ได้

ตัวอย่าง ในการวิเคราะห์ อุปสรรค ของตัวเอง ให้เปลี่ยนมาเป็น จุดแข็ง :

เมื่อคุณโดนไล่ออกจากงาน คุณทำอย่างไร ?

  • ตั้งสติ ไม่ฟูมฟาย โทษร้ายคนอื่น
  • ศึกษาหาโอกาสงานใหม่
  • หาความรู้เพิ่มเติม ออนไลน์ เพื่อ เพิ่มทักษะ และ ศักยภาพ และเปิดโอกาส ให้ตัวเองได้ทำงานใหม่ๆ
  • ลอง สมัครงาน ที่ไม่เคยทำ
  • อัพเดท ด้วยข่าวสาร ใหม่ๆ ตลอดเวลา

ซึ่ง พี่ขอบอกเลยว่า ถ้าน้องๆ สามารถ ตอบ กรรมการ ได้แบบนี้ รับรองว่า ได้ใจ กรรมการ ไปเต็มๆ เพราะนี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะมี อุปสรรค ขนาดไหน ก็ตาม ก็ไม่สามารถ ทำอะไรน้องๆ ได้