หน้าที่ของแอร์โฮสเตส คือ อะไร ทำหน้าที่อะไรบ้าง เค้าทำงานกันยังไงในแต่ละเที่ยวบิน

หน้าที่ของแอร์โฮสเตส

หน้าที่ของแอร์โฮสเตส

หน้าที่ของแอร์โฮสเตส หรือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน คือมีหน้าที่หลัก คือ รับรองความปลอดภัย และ ความสะดวกสบายของผู้โดยสารระหว่างเที่ยวบินนั้นๆ ของสายการบิน ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Cabin Crew แปลเป็นภาษาไทยคือ ลูกเรือ ซึ่งหมายถึง บุคคล หรือ ทีมงานที่เป็นส่วนหนึ่งของเที่ยวบินนั้นๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเที่ยวบินพานิชย์ เที่ยวบินธุรกิจ หรือ แม้แต่เที่ยวบินของกองทัพก็จะมี ลูกเรือ เป็นส่วนหนึ่งของเที่ยวบินเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเที่ยวบินภายในประเทศ หรือ นอกประเทศก็ตาม ซึ่งอาชีพลูกเรือ หรือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินนี้ ได้เริ่มขึ้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912

โดยผู้ชายที่ทำหน้าที่ลูกเรือ จะเรียก“stewards” ภาษาไทยก็คือ สจ๊วต และ จะเรียกผู้หญิงที่ทำหน้าที่นี้ว่า “stewardesses”  หรือ “air hostesses” ซึ่งชื่อที่คนไทยคุ้นกัน ก็คือ แอร์โฮสเตส นี้นี่เอง

โดย พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ทุกคน ก่อนที่จะได้มาทำงานในตำแหน่งนี้ จะต้องเรียนรู้ (Training) พิเศษเฉพาะเกี่ยวกับหน้าที่เหล่านี้ เพราะ อาชีพนี้เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ดังนั้น หน้าที่หลักๆของแอร์โฮสเตส/สจ๊วต จะคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นสำคัญที่สุด

หน้าที่ของแอร์โฮสเตส/สจ๊วต :เค้าทำงานกันอย่างไรแต่ละเที่ยวบิน?

หน้าที่ของแอร์โฮสเตส

หน้าที่ของแอร์โฮสเตส

หน้าที่ของแอร์โฮสเตส สจ๊วต 1 ชั่วโมงก่อนผู้โดยสารบอร์ดดิ่ง

หน้าที่ของ คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัย แต่การบริการลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน (โดยเฉพาะสายการบินมากดาว ?)ประมาณหนึ่งชั่วโมงล่วงหน้า บรรดาลูกเรือ และ กัปตัน ของแต่ละไฟล์จะมี

การบรรยายสรุป (Briefing) โดยกัปตันจะแจ้งให้ลูกเรือ ทราบล่วงหน้า เกี่ยวกับ สภาพอากาศ ว่าเป็นยังไงบ้าง อาจจะมีสภาพที่โปรดโปร่ง หรือ เลวร้าย เพื่อให้เราในฐานะลูกเรือ ได้เตรียมรับมือไว้ล่วงหน้า

รวมไปทั้งแจ้งเกี่ยวกับ (Flying Hours) ระยะเวลาที่เราบิน หรือ กัปตันอาจจะแจ้งสิ่งที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเที่ยวบินที่จะเกิดขึ้น โดยในบรีฟฟริ่งนี้

จะต้องพูดคุยสรุป เกี่ยวกับกระบวนการรักษาความปลอดภัยต่างๆ การใช้อุปกรณ์ฉุกเฉินว่าใช้ยังไง เพื่อให้ลูกเรือ ตื่นตัว และ ตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า บนไฟล์ อะไรก็เกิดขึ้นได้ จะต้องจัดการกับปัญหา หรือ สถานการณ์ฉุกเฉิน ยังไง

นอกจากนี้ จะมีการแจ้ง เกี่ยวกับ จำนวนผู้โดยสาร หรือจะแจ้งหากมีความต้องการพิเศษ เช่น ผู้โดยสารเด็กเล็ก ผู้โดยสาร (VIP- Very Important Passenger) วีไอพี ที่จะมาใช้บริการในเที่ยวบินนั้นๆ

หน้าที่ของแอร์โฮสเตส สจ๊วตหลังจากประชุมเสร็จ(Briefing) ต้องทำอะไรต่อ

หลัง จากการบรรยายสรุป (Briefing) เสร็จ พี่ๆแอร์/สจ๊วต เค้าก็จะต้องตรวจสอบเครื่องบินเพื่อให้แน่ใจว่ามีอุปกรณ์ความปลอดภัยอยู่ในสถานที่ ที่ควรจะอยู่ไหม และ อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานอย่างถูกต้อง หรือไม่ หากพบว่ามีชิ้นส่วนของอุปกรณ์ เช่น ถังดับเพลิง เสีย พี่ๆแอร์โฮสเตส ก็จะต้องแจ้ง ให้เจ้าหน้าที่มาเปลี่ยน ก่อนที่จะทำงานบิน คือต้องตรวจเช็คให้หมด

หน้าที่ของแอร์โฮสเตส

หน้าที่ของแอร์โฮสเตสเมื่อผู้โดยสารเริ่มเดินเข้ามาบนเครื่อง(Boarding)

หลังจากนั้น เมื่อผู้โดยสารถูกเรียก ให้ขึ้นเครื่อง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ก็จะยืนต้อนรับ กล่าวทักทาย ต้องคอยช่วยในกระบวนการขึ้นเครื่อง ด้วย

  • เช่น ช่วยเหลือผู้โดยสารที่มีความต้องการพิเศษ หรือ เด็กให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับการดูแลที่เหมาะสมในขณะที่ขึ้นเครื่อง
  • นั่งตรงตามที่นะ ซึ่งเราจะต้องคอยตรวจสอบตั๋วที่นั่งของผู้โดยสาร และ พาไปนั่งให้ถูกตำแหน่ง ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของลูกเรือ อีกด้วยในการเช็คว่า ผู้โดยสารมาถูกไฟล์ ไม่ใช่ จะไป Bangkok แต่เข้าเกทผิด ไป Bangalore พูดเป็นเล่นไป มีจริงๆ นะคะ คือต้องเช็คด้วย ไม่ใช่ผู้โดย รู้ตัวอีกที เอ้า แลนด์ผิดประเทศ ตายเลย
  • ลูกเรือ ยังได้รับการฝึกฝนให้ตรวจจับพฤติกรรมที่น่าสงสัย ผิดสังเกต ของผู้โดยสารด้วย คอยสอดส่อง ดูแล ว่ามีผู้โดยสารท่านใดมีเจตนาร้าย ต่อเที่ยวบินด้วย ถือเป็นเครื่องใหญ่มาก เพื่อป้องกันการจี้เครื่องบิน หรือ การก่อการร้าย
  • นอกจากนี้ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จะคอยช่วยผู้โดยสาร เก็บสัมภาระ บนที่เก็บของดบนเหนือศรีษะ (คอยช่วยเฉยๆ นะคะ ไม่ใช่ยกให้ผู้โดยสาร เพราะบินทุกวัน ยกทุกวัน ตาย ค่ะ !!)

หลังจากที่พาผู้โดยสารนั่งที่ เรียบร้อยแล้ว พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ยังต้องรับผิดชอบ

  • ในการบรรยายสรุปเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องบิน
  • รวมไปถึงสาธิตความปลอดภัย ให้ผู้โดยสารทราบถึงวิธีการหาทางออกฉุกเฉิน ที่ใกล้ที่สุดของพวกเขา หรือจะเป็น วิธีการคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกต้อง วิธีใช้งานเสื้อชูชีพ หรือ อุปกรณ์ลอยอยู่ในน้ำและวิธีใช้หน้ากากออกซิเจนแบบหล่นลง ในบางกรณีผู้โดยสารจะดูวิดีโอสั้น ๆ ที่ครอบคลุมข้อมูลนี้

และต่อไป จะเป็นการ Secure Cabin นั่นก็คือ พี่ๆแอร์ เค้าจะคอย เดินตรวจเช็คผู้โดยสาร ว่า คาดเข็มขัดนิรภัย ทุกคนไหม กระเป๋าไม่ขวางทางเดิน เก็บเข้าที่ หรือ ต้องแน่ใจว่าผู้โดยสาร ได้ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโทรศัพท์มือถือแล้ว หลังจากที่แน่ใจแล้วว่า ทุกอย่างเรียบร้อยดี ห้องโดยสารพร้อมแล้วที่จะออกเดินทาง ก็เตรียมเอาเครื่องขึ้น

การเป็นแอร์โฮสเตส

หน้าที่ของแอร์โฮสเตส สจ๊วต หลังจากที่กัปตันเอาเครื่องขึ้น

พอเครื่องได้(Take Off) และบินอยู่ในอากาศอย่างปลอดภัย แล้ว พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จะเดินตรวจสอบความสะดวกสบายของผู้โดยสาร

พวกเขาส่งหูฟังหรือหมอนให้กับผู้โดยสารที่ร้องขอ และเสิร์ฟอาหารหรือเครื่องดื่ม ต่อไป

นอกเหนือจากการให้บริการลูกค้าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ต้องทำการตรวจสอบความปลอดภัย อยู่ตลอดเวลาที่บิน ไม่ว่าจะเป็นการฟังเสียงที่ผิดปกติออกไป ต่างๆ ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

และเมื่อเครื่องบินเริ่มลดระดับเพดานบิน ก่อนจะถึงจุดหมาย พี่ๆแอร์ ก็จะต้องมาตรวจสอบให้แน่ใจว่าถังขยะทั้งหมดถูกนำออกจากห้องโดยสารและ ที่นั่งของผู้โดยสารอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องก่อนที่จะทำการตรวจสอบความปลอดภัยขั้นสุดท้ายก่อนเครื่องแลนด์ จนกว่าจะลงจอด

พอเครื่องลงจอดแล้ว ก็จะคอยช่วยเหลือผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ให้ลงเครื่องไปอย่างปลอดภัย บอก Thank You Good Bye ไปแบบสวยๆหล่อๆ เป็นการจบไฟล์

คุณสมบัติของ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือ แอร์โฮสเตส/สจ๊วตมี อะไรบ้าง?

พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน มักจะมีบุคลิกภาพ ภาพลักษณ์ ที่โดดเด่น มั่นใจ กล้าพูดในสถานะการณ์ที่ควรพูด กล้าแสดงออก กล้าได้ กล้าเสีย กล้าตัดสินใจ

ในขณะเดียวกัน จะต้องเป็นคนที่ มองโลกในแง่ดี ประณีประนอม นอบน้อม มีความกระตือรือร้น ที่จะบริการผู้โดยสารด้วยจิตใจที่ดี และที่สำคัญ จะต้องเป็นคนที่ทำงานเป็นทีมได้ มีความอดทด เอาใจช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน ให้ทำไฟล์นั้นๆ ให้ออกมาดี และ มีความสุข และที่สำคัญ มีอารมณ์ขบขัน จะช่วยให้เพื่อนๆ ของคุณบนไฟล์ อยากเข้าหาคุณมากขึ้น ค่ะ

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ถ้าคุณรู้สึกว่า เฮ้ย นี่มันชั้นเลย ชั้นเป็นแบบนี้เลย ขอบอกเลยว่า จงเริ่มสมัครมาเป็น ครอบครัว เดียวกันนะคะ เพราะอาชีพนี้ อาจจะเป็นอาชีพที่เหมาะสำหรับคุณ ก็ได้ใครจะไปรู้

Get the Job!

Be ready to answer any interview question

เทคนิค STEP เป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยในการสัมภาษณ์งานของน้องๆ ได้อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้หาคำตอบที่สมบรูณ์ และ เหมาะสมที่สุดของแต่ละบุคคล

เรียนแอร์ เพื่อ ให้ผ่านสัมภาษณ์งาน