อาชีพแอร์โฮสเตส สจ๊วต เงินเดือนเป็นแสน ต้องทำอะไรบ้าง

อาชีพแอร์โฮสเตส สจ๊วต

อาชีแอร์โฮสเตส

อาชีพแอร์โฮสเตส และ สจ๊วต เป็นชื่อเรียก พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน แบบที่เราคุ้นชิ้น หรือ บางคนอาจจะเรียก ว่า Cabin Crew ก็ได้หมด เพราะ มันก็กล่าวถึงสิ่งเดียวกัน ค่ะ เพราะพวกเค้าเหล่านั้นมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบหลักๆ เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะทำงานสายการบินไหน ก็ตาม

เทมเพลต เรซูเม่ จดหมายสมัครงาน

อาชีพแอร์โฮสเตส และ สจ๊วต ต้องทำอะไรบ้าง ?

หน้าที่หลักของ อาชีพแอร์โฮสเตส และ สจ๊วต คือ 

  •  การดูแลเรื่องความปลอดภัยบนเครื่องบิน
  • ดูแลผู้โดยสาร และ เพื่อนร่วมงาน ให้อยู่ในความปลอดภัยตลอดเวลาตั้งแต่ ก้าวขา ขึ้นเครื่อง (Boarding) จนก้าวขาลงจากเครื่อง (Disembark)

ชีวิตใน 1 วัน ของอาชีพแอร์โฮสเตส สจ๊วต ต้องทำอะไรบ้าง

อาชีพแอร์โฮสเตส

ตามติดชีวิตแอร์โฮสเตส/สจ๊วต

  • อาบน้ำ แต่งตัว
  • แต่งหน้า ทำผม ใส่ชุด
  • เช็คข้อมูล ของไฟล์ที่จะไปทำ
  • จัดกระเป๋า ไปทำงาน

  • Log in รูดบัตรเริ่มเข้างาน
  • ถ้าไปไฟล์ที่มี Layover ก็ต้องโหลดกระเป๋าก่อน
  • เช็คห้อง บรีฟฟริ่งรูม
  • เข้าห้องน้ำ ซื้อขนม (ถ้าไปก่อนเวลา)
  • เข้าห้องบรีฟฟริ่งรูม เพื่อประชุมก่อนทำไฟล์
  • ลากกระเป๋า ขึ้นรถบัสเตรียมขึ้นเครื่องบิน ที่เราจะไปบิน

  • จัดเก็บสัมภาระของตัวเอง
  • ประชุมกับกัปตัน และ ผู้ช่วยนักบิน (ถ้ากัปตันไม่ได้เข้าห้องบรีฟด้วย ตั้งแต่แรก)
  • เช็ค Safety Zone ของตัวเอง
  • เช็ค อุปกรณ์ฉุกเฉินที่ต้องใช้บนเครื่องบิน
  • ตรวจสอบหา สิ่งของแปลกปลอมที่ไม่ควรอยู่บนเครื่อง
  • เตรียม บอร์ดดิ่ง ผู้โดยสาร

  • กล่าวสวัสดี พาผู้โดยสารไปยังที่นั่ง
  • เริ่มบริการของภาคพื้น (แล้วแต่สายการบิน)

  • เปลี่ยนชุดสำหรับงานบริการ
  • เริ่มงาน แล้วแต่สายการบินว่า มี Service อะไรบ้าง ของไฟล์นั้นๆที่เราทำ

  • เช็คความพร้อมของห้องโดยสารก่อนลงจอด
  • จัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ให้เข้าที่ก่อนเอาเครื่องลงจอด

  • บอกลาผู้โดยสาร
  • เก็บของต่างๆ ให้เรียบร้อย ก่อน พนักงานทำความสะอาดจะมา รับช่วงต่อ
  • เก็บกระเป๋า ออกจากเครื่องบิน จบไฟล์ จร้าาาา

สถานที่ทำงาน

จริงๆ สถานที่ทำงานของ อาชีพแอร์โฮสเตส และ สจ๊วตเนี่ย ต้องบอกเลยว่าเราทำงานอยู่ในที่แคบๆ สถานที่กว้างสุด ก็คงจะเป็นห้องครัว ในเครื่องบิน หรือที่เราเรียกว่า Galley จะต้องมีความคล่องตัว เป็นอย่างมาก ในการเดินในที่แคบๆ แถมบางครั้งผู้โดยสาร ยื่นแขน ยื่นขา ออกมาระหว่างทางเดินอีก ก็ต้องคอยเดินด้วยความระมัด ระวัง ไม่ไปชน แขนขา ของผู้โดยสารที่ยื่นออกมา แต่เพื่อความปลอดภัย เราควรบอกให้ผู้โดยสาร เก็บแขน ขาเข้าไป ไม่เอาออกยื่น ออกมาขวางทางเดินนะค้าา

เพื่อนร่วมงาน มีใครบ้าง?

เพื่อนร่วมงานของเราส่วนใหญ่ จะเปลี่ยนไป ไม่ซ้ำกันแต่ละไฟล์ ซึ่งทุกไฟล์ เราจะต้องทำงานกันเป็นกลุ่ม นั่นก็คือ

  • เพื่อนลูกเรือ
  • หัวหน้าแอร์
  • กัปตัน – ผู้ช่วยนักบิน
  • กราวด์สต๊าฟ ที่ประสานงานกับเราหน้าเกต
  • แคเทอริ่ง Catering ทีมงานจัดหาอาหารให้กับผู้โดยสารบนเครื่องบิน
  • พนักงานช่างวิศวกรเครื่องบิน
  • พนักงานทำความสะอาดเครื่องบิน

ช่วงเวลาการทำงาน ของอาชีพแอร์โฮสเตส สจ๊วต

ช่วงเวลาการทำงาน ของอาชีพแอร์โฮสเตส-สจ๊วต นี้ บอกเลยว่าไม่แน่นอน แล้วแต่ตารางบิน หรือ รอสเตอร์ (Roster) ของเดือนนั้นๆ ซึ่งแต่ละเดือน สายการบินจะแจ้งตารางบินให้ลูกเรือ ทราบล่วงหน้า

ในตารางบิน หรือ รอสเตอร์ 
จะมาเป็นหน้าตา ของตารางแต่ละเดือน โดยจะระบุไฟล์บิน และเวลาออกเดินทาง บางครั้งจะระบุชั่วโมงบินให้ทราบด้วย ซึ่งลูกเรือ สามารถไปเช็ค รายละเอียด ของตารางบินได้ ในเว็บไซต์ที่สายการบิน แจ้ง

บางทีบินไฟล์เช้า บินไฟล์สาย ไฟล์เที่ยง บินไฟล์บ่าย ไฟล์หัวค่ำหรือว่าจะบินไฟล์ดึก หรือบินเช้ามืด เรียกว่า เค้าให้ไปบินเมื่อไหร่ก็ต้องไปทำงานไม่เป็นเวลาชีวิต อีกต่อไป !!

เวลาที่ทำงาน ก็จะแตกต่างกันไปแต่ละคน แล้วแต่ตารางบินค่ะ

คุณสมบัติ และ ความสามารถ ที่ต้องใช้สำหรับ อาชีพแอร์โฮสเตส และ สจ๊วต

คุณสมบัติ  ของ อาชีพแอร์โฮสเตส-สจ๊วต 

  1. สุขภาพแข็งแรง
  2. ไม่เป็นโรคติดต่อ
  3. ความสูงถึงตามกำหนดที่สายการบินต้องการ
  4. ผ่านเกณฑ์อายุขั้นต่ำ 18 – 26/(30++ สายแขก)
  5. จบม.6 – ปริญญาตรี
  6. ต้องพูดภาษาอังกฤษ ได้ !!

ทักษะ ของผู้ที่อยากเป็น แอร์โฮสเตส ที่ควรมี 

  1. มีใจรักงานบริการ
  2. ยืดหยุ่น
  3. ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย
  4. รู้จักที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา
  5. รู้จักการบริหารจัดการเวลา
  6. จัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ดี
  7. รักษาเวลา
  8. สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  9. มีความมั่นใจ
  10. รู้จักทำตามกฏระเบียบ

Get the Job!

Be ready to answer any interview question

เทคนิค STEP เป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยในการสัมภาษณ์งานของน้องๆ ได้อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้หาคำตอบที่สมบรูณ์ และ เหมาะสมที่สุดของแต่ละบุคคล

ตอบคำถามสัมภาษณ์ให้ได้งาน

เงินเดือน และ ผลตอบแทน อาชีพแอร์โฮสเตส และ สจ๊วต

เงินเดือนของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และ ผลตอบแทน แอร์โฮสเตส ถือว่า สูงกว่า มาตรฐานเงินเดือนไทยทั่วไป ตั้งแต่เริ่มเข้างาน โดยแต่ละสายการบิน จะมีค่าตอบแทนไม่เหมือนกัน ซึ่งจะแบ่ง ละเอียดๆ เงินเดือนของแต่ละสายการบิน ได้ดังนี้

ความก้าวหน้า และ อนาคตในหน้าที่การงาน

หลายๆ คนอาจจะ สงสัยว่าถ้าเป็นแอร์แล้ว ได้เงินเดือน และ สวัสดิการ ค่าตอบแทนสูงก็จริง แต่!! แล้วจะมีทางเติบโตไหม ???

ซึ่ง ขอบอกตรงนี้เลยว่า อาชีพแอร์โฮสเตส และ สจ๊วตนี้ เหมือนๆ กับทุกๆ อาชีพแหล่ะ ค่ะ นั่นก็คือ น้องๆ สามารถเติบโต และ ย้ายไปทำงานในตำแหน่ง ที่สูงขึ้นได้ ในบริษัท เพราะ สายการบิน กว่าจะมาเป็นสายการบินได้ ไม่ใช่มีแต่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินนะคะ เค้าจะต้อง มีระบบ การจัดการทั้งหมด รวมไปถึงมีการเรียน การสอน ในหลายๆ ด้านมากๆ เรียกว่า เลือกเอาไม่ไหว เลยทีเดียว แต่ เชื่อสิ่ค่ะว่า ถ้าได้เป็นแอร์ หรือ สจ๊วตแล้วนั้น น้องๆ อาจจะไม่อยากทำงานที่ภาคพื้นดินเลยก็ได้ ฮ่าๆ เพราะทำงานบนฟ้า มันสนุกจริงๆ นะคะ

ตำแหน่งบนเครื่องบิน เริ่มจากตำแหน่งเล็กสุด ไปสูงสุด 

1.แอร์/สจ๊วตชั้นประหยัด
2.แอร์/สจ๊วตชั้นธุรกิจ + ชั้นหนึ่ง
3.หัวหน้าแอร์/สจ๊วต ที่ดูแลแต่ชั้นประหยัด
4.หัวหน้าแอร์/สจ๊วต ที่ดูแลทั้งช้นประหยัด และ ชั้นธุรกิจ (ดูแลยกลำ)

พี่คงจะไม่ได้เป็นแอร์ ถ้าพี่ไม่ได้ ...

ฝึกตอบคำถามสัมภาษณ์แอร์

ใช่ค่ะ เพราะวันที่ไปสัมภาษณ์แอร์ นั้น หันไปทางไหน ทุกคนก็สวยหมด แป๊ะหมด จนพี่แอบคิดเองว่า กรรมการจะเลือก ยังไงเนี่ย จนพี่มารู้ตัวหลังจากที่ได้เป็นแอร์ แล้วว่า เค้าคัดคนจากการตอบคำถาม จริงๆ เพราะคำถามที่สายการบินถามนั้น ล้วนแต่วัด

  • ทัศนคติ

    ว่าเรามีคุณสมบัติ ในการทำงานในบริษัทของเค้าไหม เช่น รู้จักทำงานเป็นทีม เคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรม รู้จักยอมรับผิด สิ่งเหล่านี้ วัดจากการถามคำถามทั้งนั้น บางครั้งคำถามมาในรูปแบบที่ เรายังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเค้ากำลังถาม วัดทัศนคติเราด้านไหน

  • การจัดการทางอารมณ์

    บางทีสายการบิน ก็ชอบถามคำถาม ที่เหมือน ยุ ให้เราพูดถึงสิ่งแย่ๆ ที่ผ่านมา หรือ สิ่งแย่ๆ ของตัวเอง จริงๆ กรรมการ อาจจะเพียงต้องการดูว่า ถ้ามีเหตุการณ์ขับขัน หรือ เรื่องที่น่าโมโหเนี่ย เราจะจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ไหม จึงทำให้ บางสายการบิน เน้นการทำ Group Discussion เหล่านี้ เพื่อวัด ระดับการจัดการอารมณ์ของเรา

  • ไหวพริบ ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

    สายการบินจะอยากรู้มาก ว่าเราจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร เพราะพอเราไปทำงานอยู่ตรงนั้น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า นั้นมีให้จัดการอยู่ตลอดเวลา

  • วัดความเป็นมืออาชีพ ที่สามารถรักษาภาพลักษณ์ขององกรณ์

    บางครั้ง เวลาที่เรายุ่งมากๆ ต้องจัดการหลายๆเรื่องในเวลาเดียวกัน เราอาจจะหลงลืม เกี่ยวกับ การวางตัวให้เป็นมืออาชีพ ซึงสายการบินจะถามคำถามเหล่านี้ โดยการสมมติสถานการณ์ว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์ แบบนี้ขึ้น แล้วเธอจะทำอย่างไร ? คำถามเหล่านี้ต้องระวังให้ดี

ซึ่ง ถ้าน้องๆ เน้นเตรียมตัวตอบคำถามสัมภาษณ์งาน ที่ยากๆ และ ถามบ่อยๆ เหล่านี้ ไว้ พร้อมแนวทางการตอบที่อธิบายเป็นภาษาไทย และ ตัวอย่างคำตอบที่เป็นภาษาอังกฤษ

ยิ่งรู้แนวคำถาม และ แนวการตอบคำถาม ก่อน จะช่วยให้น้องๆ ผ่านสัมภาษณ์แอร์ อย่างแน่นอน ตั้งแต่ครั้งแรก เพราะสถิติของคนที่ตกแอร์ ส่วนใหญ่เกิดจาก ปัญหาในการตอบคำถาม