แอร์โฮสเตส 15 ข้อเท็จจริง ที่ต้องรู้ ก่อนจะ อยากเป็นแอร์โฮสเตส

Air Hostess


แอร์โฮสเตส

แอร์โฮสเตส (Air Hostess) หรือ แอร์ คำเรียกสั้นๆ คำที่ติดหูคนไทย ที่ไว้ใช้เรียก พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ผู้หญิง ส่วน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ผู้ชาย นั้น เราจะมักติดปาก เรียกกันว่า สจ๊วต (Steward) ซึ่ง พอพวกเราได้เป็นแอร์แล้ว กลับเรียกตัวเองว่า ลูกเรือ หรือ Cabin Crew เฉย

คำศัพท์ เรียก แอร์โฮสเตส มีด้วยกันหลายคำ ไม่ว่าจะเป็น

Flight Attendant อ่านว่า ไฟล์ทฺ-อะเทน-เดินท
Cabin Crew อ่านว่า แคบ-บิน-ครู
Stewardess อ่านว่า สทูส-เออดิส

ซึ่ง สำหรับใคร ที่กำลัง ลังเลใจ อยู่ว่า

  • จะ สมัครแอร์ดีไหม
  • จะ เริ่ม เรียนแอร์ ที่ไหนดี
  • จะ เรียนคณะอะไรดี ให้ได้ทำงาน เป็นแอร์โฮสเตส
  • ชีวิตการทำงาน ของ แอร์โฮสเตส มันเป็นอย่างไร
  • คิดอย่างไร ให้ได้เป็น แอร์โฮสเตส
  • หรือ กำลังเตรียมตัว สมัครแอร์ อยู่

ก็จะได้ มาดูด้วยกันเลยว่า อะไร คือ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ แอร์โฮสเตส อาชีพ ที่หลายๆ คนใฝ่ฝัน นี้ เพื่อ เป็น แนวทาง ในการสมัคร และ เตรียมตัว

หรือ อาจจะ เก็บไว้ แชร์ให้กับคน ที่เรารัก เพื่อ เป็น ข้อมูลในการสมัครแอร์ ให้พวกเค้า เหล่านั้น


15 ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ แอร์โฮสเตส

1. แอร์โฮสเตส ทำงานอะไร ?

หนาที่ของ แอร์โฮสเตส คือ ดูแล ด้านความปลอดภัย (Safety) การปกป้องคุ้มกัน (Security) และ ดูแลความสะดวกสบาย หรือ การบริการ (Service) ให้กับผู้โดยสาร ตั้งแต่ ผู้โดยสาร ก้าวขึ้น มาบนเครื่อง จน เดินออกจากเครื่อง

ทำความเข้าใจโดยละเอียด กับ หน้าที่แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต

2.เส้นทางสู่ อาชีพ แอร์โฮสเตส

เส้นทางสู่ อาชีพแอร์โฮสเตส ของหลายๆคน อาจจะเริ่มมี แรงบันดาลใจสมัครแอร์โฮสเตส ตั้งแต่เด็ก หรือ ตั้งแต่เรียนจบ ม. ปลาย เรียนจบ มหาวิทยาลัย หรือ บางคนได้ลองทำงานอื่นๆดูแล้วแต่ ยังไม่ชอบ

และ อยากหา ความท้าทายในชีวิต ก็สามารถ มาสมัครแอร์โฮสเตสได้

  • บางสายการบิน เริ่ม รับสมัคร ตั้ง แต่ อายุ 21 ปี
  • บางสายการบิน ต้อง การวุฒิ ม.6 เท่านั้น
  • บางสายการบิน จะต้องจบ ป.ตรี
  • บางสายการบิน ก็รับสมัครแอร์ ไปจนถึงอายุ 30++ เลยก็มีค่ะ

ดังนั้น เส้นทางสู่อาชีพ ของ แอร์โฮสเตส ของแต่ละคน นั้น อาจจะแตกต่างกันไป แต่ถ้าคุณ กำลังรู้สึกว่า อยากเปิดโลกกว้าง หาประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับตัวเอง ก็ อยากจะลองแนะนำให้มา สมัครแอร์ สมัครสจ๊วต ดูค่ะ ทำไป 2 -3 ปี เก็บเงินยังได้

3. แอร์โฮสเตส สถานที่ทำงาน เป็นอย่างไร?

สถานที่ทำงาน ของ แอร์โฮสเตส นั้นจะมีอยู่ 2 ที่ คือ

  1. Operation Center/ Headquarter Office
    เป็น สถานที่ที่เป็น จุดศูนย์กลาง หรือ ออฟฟิศ สำหรับแอร์โฮสเตส และสจ๊วต ในการ log in / log out เริ่มทำงาน สถานที่ประชุมก่อนออกไฟล์ หรือ (ฺBriefing)
  2. Aircraft บนเครื่องบิน
    แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต จะใช้ เวลาใน การทำงานบนเครื่องบิน ซึ่ง จะนับเป็นชั่วโมงบิน เวลา คิดเงินเดือน ด้วยค่ะ

4. เวลาในการทำงาน ของ แอร์โฮสเตส

เวลาในการทำงานของ แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต แต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน เพราะ ใน 1 เดือน สายการบินจะให้ ตารางบิน บอกว่าจะเดินทางไปทำงานที่ไหนบ้าง วันอะไร ไฟล์อะไร กับ เพื่อนร่วมงานชื่ออะไร เค้าจะมีระบบ บอกลูกเรือล่วงหน้า เป็นเดือนๆ เพื่อให้เราได้เตรียมตัวหาข้อมูล เกี่ยวกับไฟล์ นั้นๆ

ซึ่งตารางบินนี้ ลูกเรือจะเรียกกันว่า รอสเตอร์ (Roster) / สเก็ต มาจากคำย่อๆ ของ สเก็ตโดล 55+ (Schedule)

เวลาทำงานของแอร์โฮสเตส แต่ละคน จะไม่เหมือนกัน

  • บางคนใน 1 เดือน อาจจะได้บินถึง 100 ชั่วโมง
  • บางคน อาจจะได้บินแค่ 30 ชั่วโมง
  • บางคน อาจจะไม่ได้บินเลย เพราะโดน ออนกราวน์

อันนี้แล้วแต่คน คนที่จัดตารางบิน จะเป็นคนกำหนดให้ เรียกว่า Crew Control

แต่ละเที่ยวบินมักจะมี เวลาออกเดินทาง ไปทำงาน ไม่เหมือนกัน

เราสามารถได้ ไฟล์ดึก ไฟล์เช้ามืด ไฟล์เช้า ไฟล์สาย ไฟล์เที่ยง ไฟล์บ่าย ไฟล์บ่ายแก่ๆ ไฟล์หัวค่ำ ไฟล์เย็นๆ ได้หมด !!!

เอ๊ะ แต่บางสายการบิน แลกกันกับเพื่อนได้นะ อุ๊บๆ

5.เส้นทางการเติบโตในหน้าที่การงานของ แอร์โฮสเตส

เส้นทางการเติบโต ของ อาชีพแอร์โฮสเตส นี้ก็มีอยู่เรียงลำดับ จาก ตำแหน่งเล็ก ไป ตำแหน่งใหญ่ๆได้ ดังนี้

  1. ลูกเรือชั้นประหยัด (อีโคโนมี่)
  2. ลูกเรือชั้นธุรกิจ (บิสเนสคลาส)
  3. ลูกเรือชั้นเฟริสคลาส
    * บางที ลูกเรือชั้นธุรกิจ ก็เสริฟ ในชั้นเฟริสคลาส เหมือนกัน นะคะ
  4. หัวหน้าลูกเรือ
  5. คุณครูสอนแอร์ในสายการบิน (Instructor)

6.เงินเดือน และ ค่าตอบแทน ของ อาชีพ แอร์โฮสเตส

เงินเดือน และค่าตอบแทนแอร์ รบกวน อ่านต่อที่นี่น้า ละเอียดยิบ

7.ความท้าทายใน อาชีพ แอร์โฮสเตส

ท้าทายหลากเรื่อง แต่เรื่องที่พี่คิดว่าท้าทายที่สุด คือ เรื่องของคน เพราะ เราทำงานกับคน แถมต้องทำงานกันเป็นทีมอีก ไม่ว่าจะกับลูกเรือเอง กับ ผู้โดยสาร กับ คลีนเนอร์ กับ เอ็นจิเนียร์ กับ กราวน์สต๊าฟ ปัญหามันเกิดได้ตลอดเวลา

ดังนั้น เราต้องมีทักษะในด้านการพูด พูดอะไรไปต้องเคลียร์ ชัดเจน และ ยืดอกรับผิดชอบต่อคำพูดของตัวเอง

ต้องอดทน ในหลายๆครั้ง ถึงแม้ว่าโมโห ผู้โดยสารสุดๆ แต่เราก็ต้องอดทน ไม่ต่อว่า หรือ แม้กระทั่งชักสีหน้า กรอกตา เบะปาก ทำไม่ได้ ต้องเก็บไว้ในใจ

บางครั้งมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เจอคนเป็นลมล้มตึง ตรงหน้า จะกรี๊ด แล้ว ไม่ช่วยไม่ได้ เพราะเราถูกเทรน มาให้ช่วยผู้โดยสาร ให้ได้

ท้าทายแต่สนุก ถ้าเราคิดบวกนะคะ เรียกว่า พอเป็นแอร์ปุ๊ป เจอเรื่องอะไรหนักๆ ก็แค่ สะบัดๆ ไหล่ แค่นี้เอง เจอมาเยอะ อะไรแบบนี้

8.อยากเป็นแอร์โฮสเตส ต้องเรียนอะไร ?

น้องๆหลายคน จะมาถามคำถามพี่ว่า

  • ถ้าอยากเป็นแอร์ ต้องเรียนคณะอะไร ?
  • ถ้าอยากเป็นแอร์ ต้องเรียนสายไหน ?
  • ถ้าเรียนเอกการบิน จะได้เป็นแอร์กี่เปอร์เซ็น ?
  • ถ้าเรียน ธุรกิจการบิน จะได้เป็นแอร์ไหม ?

พี่ขอตอบตรงนี้เลยว่า จะเรียนคณะอะไรมา จะเรียนสายอาชีพ สายปัจจุบัน สายไหนมา ก็เป็นแอร์โฮสเตส และ สจ๊วตได้ค่ะ

และ ไม่จำเป็น จะต้องไปเรียน เอกการบิน หรือ ธุรกิจการบิน เพื่อ ที่จะได้เป็น แอร์โฮสเตส หรือ สจ๊วต โดยเฉพาะ นะคะ น้อง จบ คณะอะไร มา สายการบิน ก็รับ หมดค่ะ

ขออย่างเดียวเลย ขอให้ พูดภาษาอังกฤษ เก่งๆ ฟัง อ่าน เขียน รองลงมาตามลำดับ

9. เสน่ห์ ของ อาชีพแอร์โฮสเตส

อาชีพแอร์โฮสเตส เป็นงานที่มีเสน่ห์ นะ เป็นงานที่เราได้เดินทางจริงๆ ได้พบปะ และ ทำงานกับคนเก่งๆ มากมาย โดยเฉพาะ กับ ลูกเรือเองเนี่ยแหละค่ะ แต่ละท่านจบมาจากหลากหลายวิชาชีพ แต่มาเป็นแอร์ สจ๊วต เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

ได้เดินทางไปเมืองต่างๆ หรือ เทศกาลดนตรี ต่างๆ ที่เราอยากไปทั่วโลก ยิ่งถ้าเราชอบเมืองไหนพิเศษในใจ เดือนๆนึง จะกลับไปซ้ำ เที่ยวแต่ประเทศที่ชอบ ก็ได้ (เพราะไฟล์มันบิดได้ อิอิ เลิศ)

เราได้เห็น และ อัพเดทเทรนใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ได้ซื้อของจากแหล่งกำเนิดของสินค้า ในราคาที่ถูก เพราะหิ้วมาเอง

ใน 1 เดือน ได้ไปประเทศต่างๆ ทั่วโลก มากกว่า 10 ที่ ได้พักโรงแรม 5 ดาว ทานอาหารในโรงแรมในราคาลูกเรือ คือ เรียกว่า พิเศษสุดๆ จริงๆ หาได้ยากกับอาชีพอื่นๆ นะคะ

10.ความมั่นคง ใน อาชีพ แอร์โฮสเตส

แล้วแต่สายการบิน ค่ะ เพราะโดยทั่วไปแล้ว สายการบินจะทำสัญญาเริ่มต้นที่ 3 ปี บางสายการบินทำสัญญา 5 ปี แล้วต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ

บางสายการบิน ถ้าทำงานดี Performance ในการทำงานดี (ระหว่างทำงาน ทุกๆ 3 เดือนจะมีสอบ แล้ว อาจารย์เราจะให้คะแนน ซึ่ง สายการบินจะเอาคะแนน ตรงนั้น มาวัดว่าเรา ทำงานดีไหม) ก็ได้ต่อสัญญาเรื่อยๆ แน่นอนค่ะ

โควิด19 ทำให้ อาชีพแอร์โฮสเตส สจ๊วต มั่นคงอยู่ไหม ?

สำหรับพี่คิดว่า ไม่ว่าอาชีพไหนๆ ตราบใดที่เราเป็น ลูกจ้าง ก็ไม่มั่นคง หรอกค่ะ เพราะ เมื่อบริษัท มีปัญหา มีความจำเป็น ต้องลดพนักงาน มีความจำเป็นเป็นต้องเลิกจ้าง เราก็ต้อง ทำใจ และ ยอมรับ

แล้วจะทำอย่างไร ยังอยากเป็นแอร์ อยู่ไหม?

มันก็อยู่ที่น้องๆ แล้วค่ะ ว่าอยากเป็นแอร์โฮสเตสเพราะอะไร ซึ่ง ถ้าเหตุผล หลักๆ ที่ทำให้น้องๆ อยากเป็นแอร์โฮสเตส และ สจ๊วต คือ เหตุผล เหล่านี้

  • อยากเป็นแอร์ เพราะ ได้เที่ยว เปิดประสบการณ์ชีวิต
  • อยากเป็นแอร์ เพราะ ได้เก็บเงิน
  • อยากเป็นแอร์ เพราะ  คือ ความฝัน

พี่ก็ยังแนะนำ ให้สมัครอยู่ เพราะ นี่คือ เสน่ห์ ของงานนี้จริงๆ

แต่ สิ่งที่สำคัญ และ อยากให้ทุกคน พึงระรึกไว้เสมอ ว่า เราต้องรู้จักวางแผนชีวิต เรื่องการเก็บเงิน เรื่องการดูแลสุขภาพ ด้วย เพื่อ ให้น้องได้ทำงานที่ตัวเองอยากทำ และ ยังหาความมั่นคงให้ตัวเองได้อยู่ เนาะ

แอร์ เอมิเรตส์ ฉีดวัคซีน
แอร์โฮสเตส ฉีดวัคซีน

11. แอร์โฮสเตส ต้องมี คุณสมบัติ อะไรบ้าง

  1. มี ใจรัก งานบริการ Having Customer Service-Minded Attitude

    คุณสมบัติแอร์ สจ๊วต ข้อแรก ที่แอร์โฮสเตส ทุกคนพึงมี คือ มีใจรักงานบริการ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจ คนอื่น เป็นผู้ให้

  2. มีความเป็นมืออาชีพ และ มีความรับผิดชอบ Professional and Responsible Person

    บุคลิกภาพดี มีความมั่นใจ ในตัวเอง เพราะเมื่อไหร่ที่เราใส่ยูนิฟอร์ม สายการบิน แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต นี่แหละค่ะ ที่จะเป็น Brand Ambassador ของสายการบิน บุคลิกภาพ ในที่นี้ เริ่มตั้งแต่ การเดิน การพูด การยืน การนั่ง การ Carry ตัวเองอย่างมืออาชีพ ซึ่งจะต้องดู น่าเชื่อถือ (เรื่องพวกนี้ ฝึกได้ค่ะ ใครๆก็ฝึกได้)

  3. เก่งภาษา อังกฤษ Excellent in (English) Communication

    สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ ได้ดี อาชีพแอร์โฮสเตส / สจ๊วตนี้ เนี่ยจะเป็นอย่างมากที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นสายการบินชาติไหน ภาษากลางที่ต้องได้ก็คือภาษาอังกฤษค่ะ และ จะต้องพูดได้ทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน ด้วย น้าา >> เทคนิค ฝึกภาษาอังกฤษ

  4. รู้จัก ทำงานเป็นทีม Work Well in Team

    การทำงานเป็นทีม เป็น หนึ่งใน คุณสมบัติ ลูกเรือ ที่ต้องมี เพราะในแต่ละ เที่ยวบิน เราไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ เราต้องพึ่งพา อาศัย คนอื่น เพื่อให้งานของเราสำเร็จทีมเวิร์ค (Teamwork) จึง เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ละคนจะต้องรู้หน้าที่ของตัวเอง และ รู้จักสื่อสาร และ ดูแลกันในทีม

  5. เป็นคนที่ยืดหยุ่น ปรับตัวได้ในทุกๆ สถานการณ์ Adaptable and Flexible Person

     

    ต้องเป็นคนที่ รู้จักปรับตัว กับ สถานที่ เวลาการทำงาน เพื่อนร่วมงาน หรือ  สิ่งแวดล้อมรอบตัวใหม่ๆ ได้อยู่ตลอดเวลาหรือ แม้กระทั่ง วิธีการทำงาน เพราะว่า สายการบินจะมีข้อมูล มาอัพเดทใหม่ๆ เสมอ เพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสาร และ ความปลอดภัย ดังนั้น อาจจะต้อง ปรับตัว แล้ว ทำงานในวิธีการใหม่ๆเสมอ

  6. ตระหนักถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม Cultural Awareness

    เป็นแอร์โฮสเตส / สจ๊วต จะต้องเข้าใจเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรม ผู้โดยสารมาจากทั่วโลก แต่ละที่ มีวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน เราต้องรู้จักเคารพ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ของชนชาติอื่นๆด้วย

  7. จะต้อง มีสุขภาพที่ แข็งแรง ทั้งร่างกาย และ จิตใจ Good Health and Fitness

    แอร์โฮสเตส จะต้องฟิต และ แข็งแรง พร้อมที่จะทำงาน 110 % โดยก่อนที่สายการบินจะรับเข้าไปสมัคร จะต้องมีการตรวจสุขภาพ ถ้ามีปัญหาสุขภาพด้านในด้านหนึ่งที่สายการบินมองแล้วว่า อาจจะเป็นปัญหาได้ในอนาคต อาจไม่ได้คัดเลือก >> ตรวจสุขภาพแอร์มีอะไรบ้าง ?

  8. มีความอดทน กับ ความเครียด High Stress Tolerance

    งานแอร์โฮสเตส จะต้องแบกรับความเครียด ไว้หลายๆอย่าง จะต้องเป็นคนที่สามารถทำงานในภาวะที่มีความกดดันสูงๆ ได้ และจะต้องรู้วิธีการรับมือกับมันให้ได้ด้วยนะคะ

  9. ใส่ใจ รายละเอียด และ อ่านสถานการณ์ออก Pay Attention to Details

    อีกคุณสมบัตินึง ที่ว่าที่ แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต หลายๆคนจำเป็นต้องมี นั่นก็คือ รายละเอียด เราจะต้องรู้จักเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ แล้ว ก็ต้อง อ่านสถานการณ์เป็นยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้โดยสาร ขอน้ำร้อนบ่อยๆ ก็อาจจะถามว่า เจ็บคอเหรอ ต้องการให้ช่วยอะไรไหม อยากทาน น้ำผึ้งผสมมะนาว อุ่นๆ ไหม เดี๋ยวจะทำให้ เป็นต้น

  10. มี ความสามารถ ในการ จัดการเวลา Good Time Management

    เป็นแอร์โฮสเตส จะต้องรู้จักที่จะ จัดการเวลาให้ดี เพราะบนเครื่องบินเรามีเวลาการทำงานที่จำกัด มีขั้นตอนและหน้าที่ หลากหลายอย่างที่จะต้องทำ ในเวลาสั้นๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ จำเป็นมากๆ สำหรับงานนี้บางครั้ง ไฟล์บิน มีระยะเวลาสั้นมากๆ เราต้องทั้ง อบอาหาร เสริฟอาหาร และ เก็บถาดอาหาร ในเวลาสั้นๆ เราต้องคิดแล้วว่า จะต้องทำอะไรก่อน 1 2 3 ตามมา เป็นลำดับ

11. สมัครแอร์ได้จนถึงอายุเท่าไหร่

อายุเยอะแล้ว สมัครแอร์ได้ไหม สายการบิน รับ จนถึงอายุเท่าไหร่ นี่เป็น คำถามที่ สาวๆ ที่ตัดสินใจ มาสมัครแอร์ เมื่อ อายุ เยอะแล้ว  

เราสามารถ สมัครแอร์ได้ จนถึง อายุ 30++ 

เกณฑ์ กำหนดอายุ ของผู้เข้าสมัคร คร่าวๆ 

  • สายการบินในไทย สมัครได้ อายุไม่เกิน 26 ปี
  • สายการบินในเอเชีย สมัครได้ อายุไม่เกิน 27 ปี
  • สายการบินในตะวันออกกลาง สมัครได้จนถึง อายุ 35+  

**ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ บุคคลิกภาพ การตอบคำถามสัมภาษณ์งาน ด้วย  

12. ต้องได้ ภาษาที่สาม ไหม เพื่อ สมัครแอร์โฮสเตส

แล้วแต่ กรณี แต่ส่วนใหญ่แล้ว ไม่จำเป็น โดยเฉพาะ สายการบินแขก
แต่ละรอบ ของการเปิดรับสมัครแอร์โฮสเตส และ สจ๊วต สายการบิน จะระบุ

Requirement ข้อกำหนด หรือ Qualifications คุณสมบัติ ไว้ในใบประกาศรับสมัครงาน อยู่แล้ว ถ้ารอบไหน เป็น รอบที่สายการบิน ต้องการ ผู้ที่พูดภาษาที่สามได้ ไว้ชัดเจน ที่ใบประกาศรับสมัครเลย ว่า

ถ้าใครได้ ภาษาที่สาม จะพิจารณาเป็นพิเศษ หรือ จะได้เป็นข้อได้เปรียบ เช่น

  • Prefer Japanese Speaker
  • Must Speak Mandarin
  • Chinese Speaking Only

สายการบินเค้าจะระบุ ชัดเจนเลย แต่ ถ้าสายการบินไม่ได้เขียนไว้ใน ใบประกาศงาน ก็แปลว่า ไม่จำเป็นต้องพูดภาษาที่สามได้ ค่ะ

13. ต้องใช้ คะแนน TOEIC ยื่นไหม เวลาสมัครแอร์

แล้วแต่สายการบิน อีกเช่นกันค่ะ โดยส่วนใหญ่ สายการบินจะระบุเลยว่า ต้องได้ คะแนนโทอิค ขั้นต่ำ ที่เท่าไหร่

ซึ่ง ส่วนมาก จะเป็น สารการบินในไทย หรือ สายการบินในเอเชีย เท่านั้นที่ ต้องใช้ คะแนน Toeic ยื่นสมัครแอร์

สายการบินตะวันออกกลาง กาตาร์ เอมิเรตส์ จะมี ข้อสอบ วัดความสามารถ ทางด้านภาษาอังกฤษ มา ให้สอบ จากสายการบินเอง โดยจะมี ทั้ง Essay, Multiple Choices, Short Answer 

คะแนนโทอิค ขั้นต่ำ ในการสมัครแอร์ คือ 650 ขึ้นไป ใครต่ำกว่านี้ มีโอกาสน้อยลง

บุคลิกภาพ แอร์โฮสเตส

14. ปัญหาผิวหนัง กับ สมัครแอร์

หลายคนกังวล เกี่ยวกับ ปัญหาผิวหนัง เกี่ยวกับ การสมัครแอร์ เหล่านี้

  • เป็นสิว เป็นแอร์ ได้ไหม

    คำตอบ : ถ้าเป็นสิว ควรรอให้หายก่อน ค่อยไปสมัคร

  • มี หลุมสิว สมัครแอร์ได้รึเปล่า

    คำตอบ : ใบหน้ามีหลุมสิวได้ แต่ไม่ควรลึก และ ชัดเจนเกินไป
    คำแนะนำ : ควรทำเลเซอร์ หลุมสิว จะได้ผลเร็วที่สุด

  • มี รอยแผลเป็น รอยดำ รอยแดง แบบนี้ สมัครแอร์ได้ไหม

    คำตอบ : ถ้าเป็นไม่เยอะ ใช้รองพื้นปิดเอาได้ ไม่ต้องเครียด

  • มี รอยนูน แผลเป็นนูน แผลเป็น คีลอยด์ ตรงขา จะเป็นอะไรไหม

    คำตอบ : ถ้าเป็นแผลเป็นคีลอยด์ ตามตำแหน่ง นอกร่มผ้า แล้วมีขนาดใหญ่ เกิน 1×1นิ้ว
    ควรที่จะหาวิธีทำให้ แผลเป็นรอยนูน แผลเป็นคีลอยด์ เหล่านั้น ยุบลง ก่อนจะไปสมัคร

  • มี รอยไฝ ขี้แมลงวัน ต้อง แจ้งบริษัทไหม

    คำตอบ : ขี้แมลงวัน แจ้งสายการบินได้ ตอนที่จะต้อง Declare รอบไฟนอล
    แต่ถ้ากังวลใจ ไปทำเลเซอร์ เอาออกได้ ถ้าเป็น เลซอร์ ชนิด Co2
    แต่จะต้องไปทำล่วงหน้า สัก 1-2 เดือน เพราะจะมี สะเก็ดแผลเป็น

  • มี ขน ที่แขน ที่ขา ต้องไปเลเซอร์ไหม

    คำตอบ :  ถ้าขนที่แขน ไม่ได้ยาวจนเกินไป ไม่จำเป็นต้องไปทำเลอเซอร์ เอาขนออก แต่ที่ขา ควรโกนขนขา แว็กซ์ขน หรือ เลเซอร์ขน ที่ขา ก่อนไปสมัคร

  • เป็นผู้หญิง มีหนวด ที่ใบหน้า ต้อง เอาออกไหม ก่อนไปสมัครแอร์

    คำตอบ : ถ้ามีหนวดที่ใบหน้า สำหรับผู้หญิง แล้วเห็นชัดเจน หลังจากแต่งหน้า ควรหาวิธีเอาหนวดออก

15. บุคลิกภาพ แอร์โฮสเตส ต้องมีอะไร

หลายสายการบิน ถือว่า Cabin Crew นั้น คือ แบรดน์แอมบาสเดอร์ (Brand Ambassador) ของสายการบิน ซึ่งถือเป็น สัญลักษณ์ ภาพลักษณ์ ของสายการบิน

ดังนั้น สายการบิน เวลา คัดเลือก ผู้เข้าสมัคร จึงจะให้ความสำคัญ กับ เรื่อง บุคลิกภาพ เป็นอย่างมาก ซึ่งเรียกเป็น องค์รวมว่า กรูมมิ่ง (Grooming) 

Grooming ของ แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต จะครอบคลุม เรื่องต่างๆ ดังนี้

  • ชุดยูนิฟอร์ม สายการบิน : ต้องไม่มีรอยยับ ถ้ายับต้องรีด
  • การดูแลเรื่องความสะอาดและ สุขลักษณะ : กลิ่นตัว/เล็บ/หนวด/การอักเสบของสิวบนใบหน้า/เริมที่ริมฝีปาก/แผลเป็นพุะอง นอกร่มผ้า
  • การแต่งหน้า ทำผม (สำหรับผู้หญิง) : ต้องแต่งหน้า ทำผม ตามคำแนะนำของสายการบิน
  • การตัดแต่งทรงผม และ การจัดการหนวด (สำหรับผู้ชาย) : ต้องดูแล ให้ไม่เกิดรอยผด จากการโกนหนวด
  • การใส่คอนเทคเลนส์ หรือ แว่นตา : ต้องเลือกสีธรรมชาติ แว่นตาต้องสีสุภาพ
สัมภาษณ์แอร์ สจ๊วต รอบนี้ให้ผ่าน

เตรียมตัวให้พร้อมตอนนี้ กับ 109 คำถามสัมภาษณ์งานเชิงจิตวิทยา ที่ยาก และ ถามบ่อย

ไม่ต้องรอให้สายการบินเปิด แล้ว ค่อยเตรียมตัว เตรียมตัวตั้งแต่วันนี้เลย นี่คือเคล็ดลับ ของคนที่ได้เป็นแอร์จริงๆ

ดู eBook เพิ่มเติม เพื่อสั่งซื้อ