เคล็ดไม่ลับ ในวัน Assessment Day สมัครแอร์ สจ๊วต กราวน์ สต๊าฟ

เคล็ดไม่ลับ สมัครแอร์ สจ๊วต

ใน วัน Assessment Day หรือ วันสัมภาษณ์แอร์ / สจ๊วต (พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน) มีเคล็ดลับอย่างไรบ้าง ที่จะทำให้ผ่าน ไม่ต้องตกรอบ ซ้ำๆ ซ้อน ผ่านตั้งแต่รอบแรก มีเรื่องอะไรที่ต้องระวังบ้าง

เพราะ ผู้เข้าสมัคร เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่จะไปสัมภาษณ์งานแบบ ชิวๆ, ผ่อนคลาย, สบายใจ และ รู้ว่าตัวเองว่าควรพูด และ ไม่ควรพูดอะไร กับกรรมการ

รวมไปถึงสิ่งที่เราอาจจะกังวลมากมายใน วันสัมภาษณ์งานลูกเรือ กับสายการบิน จะ มีบรรยากาศ ที่ยิ่ง คิด ก็ยิ่งกดดันมากขึ้น บางรอบ อาจจะต้องใช้เวลาเต็มวัน บางรอบอาจจะยืดยาวออกไป ถึง 2-3 วันก็ และ ในแต่ระรอบที่สัมภาษณ์ ก็จะมีการคัดคนออก และส่งกลับบ้าน ในทุกๆรอบ

การรู้ล่วงหน้าว่า มีอะไรที่เราต้องระวังบ้าง หรือ ข้อผิดพลาด อะไรที่สำคัญที่สุด ใน การสัมภาษณ์งาน มีอะไรบ้าง จะช่วยได้อย่างมาก โดยเฉพาะการตอบ คำถามสัมภาษณ์งาน

ให้น้องๆตระหนักถึง ท่วงท่า, คำพูด และ ภาษากาย น้ำเสียง ของน้องๆให้มากๆ

รายการต่อไปนี้จะ อธิบายถึง แง่มุมที่ กรรมการเห็นว่าไม่สามารถยอมรับได้ แม้ว่าคุณจะมี CV ที่สมบูรณ์แบบก็ตาม

มีคนเพียงผู้เข้าสัมภาษณ์เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่จะไปสัมภาษณ์งานแบบ ผ่อนคลาย,สบายใจและรู้ว่าตัวเองว่าควรพูด และ ทำอะไร รวมไปทั้งรู้ว่าจะต้องเจอกับอะไรบ้าง วันสัมภาษณ์งานลูกเรือ กับสายการบิน จะมีบรรยากาศที่จะยิ่งทำให้กดดันมากขึ้น เพราะ จะต้องใช้เวลาเต็มวัน บางรอบอาจจะยืดยาวออกไป ถึง 2-3 วันก็ และในแต่ระรอบที่สัมภาษณ์ ก็จะมีการคัดคนออก และส่งกลับบ้าน ในทุกๆรอบ

การรู้ล่วงหน้าว่าข้อผิดพลาดที่สำคัญที่สุดในการสัมภาษณ์งานมีอะไรบ้าง จะช่วยได้อย่างมาก- ให้น้องๆตระหนักถึง ท่วงท่า, คำพูด และ ท่าทางร่างกายของน้องๆให้มากๆ รายการต่อไปนี้จะอธิบายถึงแง่มุมที่กรรมการเห็นว่าไม่สามารถยอมรับได้ แม้ว่าคุณจะมี CV ที่สมบูรณ์แบบก็ตาม

1. การแต่งตัวที่ไม่เหมาะสม

น้องๆเคยไปสัมภาษณ์งาน และในขณะที่รอสัมภาษณ์อยู่หน้าห้องสัมภาษณ์ ก็จะมีผู้เข้าสมัครบางท่าน ที่แต่งตัวโดดเด่นขึ้นมาจากคนอื่นๆ ไหมคะ ซึ่ง พวกเค้าเหล่านั้น มักจะแต่งตัวโดดเด่น ด้วยการสวมรองเท้าส้นสูงที่สูงปรี๊ดๆๆ ด้วยกระโปรงที่สั้นจุ๊ด สีแดงสด และแต่งหน้าด้วยโทนสีน้ำเงินเข้ม ฮึ่มม
ซึ่งการแต่งการดังกล่าวนี้ จะทำให้ดูเหมือนเป็นคนที่ไม่เอาจริงเอาจัง น้อยกว่า คนที่แต่งสูทธรรมดา แบบ และ สี คลาสสิส ทั่วไปซะอีกค่ะ
แต่ก็ไม่ใช่ ว่าให้แต่งตัวชิว เหมือนกับน้องๆลงมาซื้อกับข้าวหน้าปากซอยนะคะ ห้ามใส่ยีนส์ , ห้ามสวมรองเท้าแตะ หรือ รองเท้าที่มีหน้าตาเหมือน/คล้ายคลึงกับรองเท้ากีฬา ไม่เก็บผม ไม่แต่งหน้า แบบนี้ไม่เอานะคะ เพราะงานแอร์ต้องการคนที่ดูProfessional ค่ะ ดังนั้น ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน ลุคดูคลาสสิค จะดีที่สุดค่ะ

การสัมภาษณ์ของน้องๆกับสายการบิน จะต้องอยู่ในลุคที่เลอค่า และ สมบรูณ์แบบ ดูเป็นมืออาชีพอยู่ตลอดเวลา

สำหรับคุณสุภาพสตรีให้สวมกระโปรง แบบ Business Attire พร้อมรองเท้าส้นสูงที่ใส่สบาย ๆ และมาสคาร่าและลิปสติก สำหรับคุณสุภาพบุรุษให้ไปกับชุดสูทกับเสื้อเชิ้ต คอปกและผูกเนคไท และขัดรองเท้าให้เงา หากน้องๆไม่ต้องการซื้อ ก็สามารถไปเช่าชุดได้นะคะ อ่านเพิ่มเติมบทความเกี่ยวกับการแต่งกายสำหรับวันสัมภาษณ์

2. การพูดในเชิงลบ เกี่ยวกับ นายจ้างปัจจุบัน หรือ
อดีตของตนเอง

การที่พูดในเชิงลบถึงบุคคลอื่น จะทำให้เราดูแย่ลงในทุกกรณีค่ะ ก็เหมือนกับการที่มีเพื่อนที่มักชอบพูดเชิงลบเกี่ยวกับเพื่อนคนอื่นๆ น้องๆลองคิดดูนะคะว่า เพื่อนคนนี้จะพูดเชิงลบกับตัวน้องๆเอง ลับหลังหรือไม่ ?
ไม่ว่าจะบริษัทไหน ก็ไม่อยากมีพนักงานที่พูดใส่ร้ายบริษัทกันทั้งนั้น หล่ะค่ะ ดังนั่นเริ่มต้นกับการคิดบวก และไม่พูดถึงเรื่องไม่ดีกับที่ทำงานของตัวเองนะคะ

การนินทาและความคิดเห็นเชิงลบเกี่ยวกับนายจ้างเดิมคือ
การฆ่าตัวตายในการสัมภาษณ์

พยายามพูดแสดงความคิดเห็นที่เป็นกลางๆ ถึงแม้น้องๆจะรู้สึกลบกับบริษัทเดิมก็ตาม ให้มองหาเรื่องที่ดี และโฟกัสไปในแง่บวก เมื่อมีการพูดถึงที่ทำงานเก่า ให้ใช้เทคนิคการพูดแบบทูต เมื่อมีการถามว่าทำไมน้องถึงลาออกจากงานก่อนหน้านี้


สิ่งที่ควรบอก:

“The time I spent working at ABC Company was enjoyable. I entered as a receptionist after I finished school, and was grateful for being given a chance to apply my knowledge at work. I decided to leave as I was pursuing my masters and I was looking for a job that will give me a chance to be flexible with my working hours while attending school.”

สิ่งที่ไม่ควรพูด:

“I hated working at ABC Company because my supervisor was arrogant and strict. He was always breathing down in my neck to fulfill orders quickly and gave me unreasonable deadlines. Even had to work lots of overtime. And when I wanted to go back to school they told me that I have to work around their schedule and attend classes after working hours. So I left!”

3. ไม่ได้ฟังผู้สัมภาษณ์

ในช่วงรอบแรกที่เจอกรรมการ จะมีการพูดคุยกันเรื่องกฏเกณฑ์ต่างๆ “house rules” ว่ากลุ่มไดจะเข้าสัมถาษณ์ก่อน เรื่อง กฏการใช้โทรศัพท์ หรือ ของเหลวใดบ้างที่อนุญาติให้นำเข้ามาในห้องสัมภาษณ์ รวมทั้งกรรมการจะอธิบายว่า จะต้องกรอกเอกสารอะไรบ้าง เป็นต้น

ในช่วงเริ่มต้นของทุกรอบ กรรมการจะแจ้งต่อผู้เข้าสมัครว่า จะต้องทำอะไรบ้าง ให้ตั้งใจฟังให้ดี และ ควรจดโน้ตไว้ด้วย เผื่อมีคำถามสงสัยจะได้ถามกรรมการได้ ซึ่งมักจะมีข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์

การไม่ให้ความสนใจ ในเวลาที่มีคนพูด (กรรมการ) คือสิ่งที่ไม่สุภาพ ถือเป็นการไม่ให้เกียรติ กับบุคคลนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการประเมิณในการสัมภาษณ์ของน้องๆนะคะ ระวังในจุดนี้ด้วย

4. ไม่โต้ตอบ กับ ผู้สมัครคนอื่นๆเลย

น้องๆต้องพยายามทำใจให้สบายๆ ในระหว่างวันสัมภาษณ์ ทุกๆ อิริยาบท ที่น้องๆแสดงออกมาในวันนี้ จะมีส่วนสำคัญในการประกอบการพิจารณา ว่าจะผ่านไปในรอบถัดไปไหม น้องๆจะถูกจับตาอยู่ตลอดเวลา ไม่เพียงเฉพาะเวลาที่น้องๆเจอกรรมการเท่านั้น แต่รวมถึงเวลาที่พักด้วย

ให้ความสำคัญกับในการปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ ในลักษณะแสดงเคารพ โดยไม่จำเป็นต้องถึงกับหาเพื่อนใหม่ เพียงแต่ พูดคุยอย่างมีมารยาท

ยกตัวอย่าง บทสนทนา กับเพื่อนๆ ในห้องสัมภาษณ์ :

“Hi, my name is Ploy, what is your name?”
“Where are you from?”
“Is this your first time doing an assessment day?”
“Have you worked as a flight attendant before?”
“I love you your shoes/lipstick/purse/blouse… Where did you get it?”

น้องๆทราบไหมคะว่า คนแปลกหน้าที่น้องๆ คุยกับเขาในวันสัมภาษณ์ อาจจะกลายมาเป็น เพื่อนร่วมเทรนนิ่งกับน้อง หรือ เพื่อนร่วมห้องหลังจากที่ได้เข้าทำงานกับสายการบินแล้วก็ได้นะคะ ซึ่งมันเกิดขึ้นจริง กับพี่แล้วจริงๆค่ะ เพื่อนที่นั่งรอสอบสัมภาษณ์แอร์ด้วยกัน วันนั้น กลายมาเป็นเพื่อนสนิทแอร์ในวันนี้ !!

บทสนทนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มักจะเริ่มต้นง่ายๆด้วยสั้นๆว่า “Hello!” “สวัสดีเธอ”

5. มี ความเชื่อมั่น ที่เกินไป หรือ น้อยเกินไป ในระหว่างทำ Group Discussion

วัตถุประสงค์ในการทำ Group Discussion คือ เพื่อแสดงให้กรรมการเห็นว่าน้องๆ มีการโต้ตอบ กับเพื่อนๆในกลุ่มอย่างไร

การเป็นลูกเรือ หมายถึง การทำงานเป็นส่วนหนึ่งของทีม จะต้องทำงานร่วมกับคนอื่นๆถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ฝั่งที่เราดูแลรับผิดชอบ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเวลาทำงาน

ในระหว่างการทำ Group Discussion กรรมการ จะเป็นคอยสังเกตดู ปฏิกิริยาของ น้องๆ เมื่ออยู่ในทีม
ทำตัวอย่างไร และ นี่คือวิธีที่น้องๆ สามารถเอาไปใช้ในการแสดงออก ในระหว่างทำ Group Discussion ได้:

  • อย่าขัดจังหวะคนอื่น เมื่อ เขาพูดอยู่
  • อย่าอาสา เป็นหัวหน้าทีม เว้นแต่กรรมการ หรือ เพื่อนในกลุ่มขอให้ทำ
  • ความสำเร็จของงานไม่ใช่ประเด็น เน้นที่การวางตัวภายในกลุ่ม ในการพูดคุยโต้ตอบกับเพื่อนๆในกลุ่ม แม้ว่าน้องๆจะไม่เห็นด้วยกับเพื่อนๆก็ตาม
  • ถ้าเห็นว่ามีเพื่อนบางคนไม่ถูกพูดถึงเลย น้องๆสามารถ เรียกชื่อเพื่อน แล้วถามความเห็นเพื่อน คนนั้นได้ เช่น “So Gabrielle, what do you think of this idea?”
  • อย่าเงียบ พยายามมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับงานที่อยู่ตรงหน้า แม้ว่าสมาชิกคนอื่นในกลุ่มของน้องแสดงบทบาทเป็นหัวหน้าในหัวข้อนั้นๆ ก็ตาม
  • เต็มใจช่วยเพื่อนร่วมงานของโดยไม่ต้องถาม
  • อาสาที่จะทำบางส่วนของงานเช่นการจดบันทึกการรักษาเวลา ฯลฯ

ไม่ว่าจะได้รับงานอะไรมาก็ตาม พยายามทำตัวให้อยู่ตรงกลาง ไม่เด่นเกิน หรือ ไม่เงียบเกินและอย่า อาสาเป็นหัวหน้ากลุ่มเว้นแต่เพื่อนๆในกลุ่ม หรือ กรรมการ จะมอบหมายหน้าที่นี้ให้

ให้พูดแสดงความคิดเห็นของตัวเองด้วย เพื่อให้เพื่อนๆ พิจารณา แต่อย่ายืนกราน ว่ามันจะต้องเป็นแบบนั้น หากเพื่อนๆในกลุ่ม ไม่เห็นด้วย กับความคิดของน้อง

6. มีโทรศัพท์เข้า

เงียบๆกันอยู่ในห้องสัมภาษณ์ หรือ ในขณะที่มีการ Present งานหน้าห้อง ต่อหน้ากรรมการ และเพื่อนๆ ในกลุ่มอื่น แต่จู่ๆ มีเสียงโทรศัพท์เข้า เพื่อนๆหันซ้ายขวา ตรวจดูว่าเป็นเสียงดังมาจากโทรศัพท์ใคร แล้วปรากฏว่า เป็นของน้องๆ

พี่ขอบอกเป็นภาษาแขกว่า ” ฮา-ลัส” (Khalas) ที่แปลว่า I’m done !!

ในช่วงบทนำ และ ช่วงชมวีดีโอ นำเสนอของบริษัท กรรมการจะแจ้งให้ทราบอยู่แล้วเรื่องการปิดโทรศัพท์ หรือ เปิดใช้งานโหมดเงียบ แต่ถ้าน้องๆ ลืมทำตามที่กรรมการบอก แล้วมีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้นมา จะแสดงให้กรรมการทราบว่าการสัมภาษณ์งานนี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับน้องๆ ได้ แต่อย่างไรก็ดี หากเป็นเรื่องจำเป็นจริงๆที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินในครอบครัว และเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับน้อง ก็สามารถขออนุญาติกรรมการได้ ค่ะ

สิ่งที่ไม่ควรทำ เวลาสัมภาษณ์งาน

7. คอยมองเวลา

ในวันสัมภาษณ์ จะเป็นวันที่ใช้เวลานานทั้งวัน ให้น้องๆเตรียมตัว เตรียมใจตั้งแต่ออกจากบ้านเลยค่ะว่ามันจะนานแน่ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มงานตั้งแต่ 9.00 โมงเช้า และจะเสร็จสิ้นประมาณ 6 โมงเย็นหรือหลังจากนั้น

พี่แนะนำน้องๆว่า อย่านัดหมายกับใครทั้งนั้นในวันนั้น และ อย่าแสดงอาการลุกลี้ลุกลน ที่จะให้สัมภาษณ์ เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว ยิ่งน้องๆ มีเวลาเท่าไหร่ กรรมการจะมองได้ว่าน้องๆ เห็นว่าการสมัครงานกับสายการบินนั้นสำคัญ และ มีค่ากับน้อง

ให้จำไว้ว่าการเหลือบมองเวลาในห้องสัมภาษณ์บ่อยๆ ก็เหมือนกับการแสดงให้กรรมการทราบว่า การสัมภาษณ์วันนี้มันช่างน่าเบื่อ อะไรเช่นนี้ ซึ่งน้องๆ อาจจะไม่เห็นก็ได้ว่า ตอนที่น้องๆ แอบเหลือบนาฬิกาอยู่ อาจจะมีกรรมการ คนใดคนหนึ่ง มองน้องอยู่ก็ได้นะคะ ซึ่งมันอาจจะส่งผมทำให้เค้ามองน้องในแง่ลบได้

8. ถาม เกี่ยวกับ เงินเดือน หรือ สวัสดิการ เร็วเกินไป

สายการบินใหญ่ๆ มักจะมีการระบุรายได้ไว้อยู่แล้ว ซึ่งสำหรับเงินเดือนลูกเรือ จะได้รับค่าตอบแทนเป็น รายได้หลัก ที่เรียกว่า Basic Salary หรือ ฐานเงินเดือน แต่ยังมีเรทเงินที่จะให้เพิ่มเติมอีก เรียนว่า Flying Hour หรือ แม้แต่ Training Hour สายการบินก็จะให้ค่าตอบแทนในส่วนนั้นด้วย

แต่ถ้าไม่ได้มีการประกาศไว้ที่หน้าเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ น้องๆก็อาจจะถามได้ในช่วงท้ายๆของการสัมภาษณ์ได้ เมื่อได้ทราบแล้วว่าเราได้รับคัดเลือกให้เข้าทำงาน แล้วเราก็ตัดสินใจดีแล้วว่าจะเข้าทำงานกับสายการบิน

นอกจากนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าน้องๆได้ทำการบ้านมา น้องๆอาจจะถามกรรมการเกี่ยวกับคำถามเหล่านี้ ในช่วงที่เค้าเปิดโอกาสให้เราถามช่วงแรกๆก็ได้ค่ะ อาทิเช่น ความก้าวหน้าในบริษท , ชีวิตความเป็นอยู่ที่นั่น เป็นยังไงบ้าง, แผนการขยายตลาดของสายการบิน หรือ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่สายการบินจะมอบให้ แต่พยายามหลีกเลี่ยงการถามถึงเงินเดือน ในช่วงแรกๆของการสัมภาษณ์ ก่อนค่ะ

9. ขาดความกระตือรือร้น (พลังหมด)

ความหลงใหลที่อยากจะทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินนี้ จะใช้เป็นหลักเกณฑ์ ที่จะแบ่งแยก ผู้เข้าสมัครที่อยากจะมาทำงานตรงนี้จริงๆ ออกจากผู้เข้าสมัครคนอื่นๆ ที่อยากจะมาทำงานนี้ เพราะเพียงแต่เป็นตัวเลือกหนึ่งเท่านั้น เพราะคนที่อยากมาทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ไม่เพียงแต่ อยากได้เงินเดือนสูงๆ หรือ อยากไปเที่ยวเท่านั้น แต่พวกเขาเหล่านั้นมักจะมีความยินดี ที่จะช่วยเหลือผู้อื่น เปิดใจเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ และมีความปรารถนาอย่างจริงจังที่จะได้ทำงานนี้

ในการสัมภาษณ์รอบสุดท้าย คำถามที่มักจะถูกถามบ่อยที่สุดคือ “ทำไมคุณถึงต้องการเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน?”
ให้บอกเล่าเรื่องราวของน้องๆ ! ว่าคิดอยากจะมาเป็นแอร์ครั้งแรกเมื่อไหร่ ? อะไรที่น้องๆได้ทำแล้วทำให้น้องๆรู้สึกตอกย้ำมากยิ่งขึ้นว่าอยากจะทำงานนี้ ? อาจจะบอกไปความรู้สึกส่วนตัวได้ ในกรณี ที่น้องมีอินเนอร์ แบบนั้นจริงๆ เพื่อโชว์ว่าน้องๆ อยากกได้ อยากทำงานนี้ และ มีแรกขับเคลื่อนมาจากภายในว่าทำไมถึงอยากทำงานนี้ ซึ่งการตอบแบบนี้มันจะช่วยทำให้ คำตอบน้อง ดูมีน้ำหนัก และ จริงใจมากขึ้น

มาถึงตรงนี้น้องๆก็คงจะพอเข้าใจ และ ตระหนักว่าควรจะพูด หรือ ไม่พูดอะไรในระหว่างการสัมภาษณ์ ซึ่งจะช่วยให้น้องๆ ได้มีความมั่นใจมากขึ้นในวันสัมภาษณ์ของน้องๆ !!

ตรวจสอบ Open Days สำหรับ Emirates, Qatar Airways, or Etihad.


ผ่านสัมภาษณ์แอร์ให้ได้

เตรียมพร้อมตอบคำถามสัมภาษณ์งาน

เมื่อเตรียมเอกสารสมัครแอร์ สจ๊วตเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้ อ่าน คำถามสัมภาษณ์แอร์ สจ๊วต เพื่อเตรียมตัวสำหรับ การสัมภาษณ์งานในอีกไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้า

ดูหนังสือสัมภาษณ์งาน ที่จะทำให้ผ่านรอบไฟนอล
ผ่านสัมภาษณ์แอร์ให้ได้

เตรียมพร้อมตอบคำถามสัมภาษณ์งาน

เมื่อเตรียมเอกสารสมัครแอร์ สจ๊วตเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้ อ่าน คำถามสัมภาษณ์แอร์ สจ๊วต เพื่อเตรียมตัวสำหรับ การสัมภาษณ์งานในอีกไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้า

ดูหนังสือสัมภาษณ์งาน ที่จะทำให้ผ่านรอบไฟนอล