ข้อดีข้อเสีย ในตัวคุณมีอะไรบ้าง?

ข้อดีข้อเสีย - จุดเด่นจุดด้อย ในตัวคุณอธิบายอย่างไร?

คำถามสัมภาษณ์งานที่ว่า ข้อดีข้อเสีย ของคุณ คืออะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมา 5 ข้อ พร้อมคำอธิบาย อาจจะทำให้หลายๆคน รู้สึกอึ้ง เพราะ ไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไรให้ไม่ดูแย่ เวลาพูดข้อเสียของตัวเอง แล้วจะพูด ข้อดีของตัวเองอย่างไร ให้ ไม่ได้ดูเว่อร์เกิน หรือ อวยตัวเองมากเกินไป

ข้อดีข้อเสีย

ในระหว่างการสัมภาษณ์งาน กรรมการที่สัมภาษณ์เราก็มักจะพูดคุยเรื่องโน้น เรื่องนี้ ชวนคุยไปเรื่อย เกี่ยวกับตัว ผู้ถูกสัมภาษณ์ ซึ่งหนึ่งในโพส ของพี่ก่อนหน้านี้ ได้เขียนเกี่ยวกับ วิธีการแนะนำตัวเองระหว่างสัมภาษณ์งาน กับ คำถามสัมภาษณ์งานเชิงจิตวิทยา เอาไว้ น้องๆ สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้ แต่ ขอบอกตรงนี้เลยว่า

หนึ่งใน คำถามที่ตอบยาก มากที่สุด เวลาสัมภาษณ์งาน คือตอนที่ กรรมการ หรือ ผู้สัมภาษณ์งาน ถามเกี่ยวกับ จงบอก ข้อดี ข้อเสีย ของน้องๆ นั่นเอง

คำถาม สัมภาษณ์งาน

151 คำถามสัมภาษณ์งาน 

ดาวน์โหลด

ฟรี

โปรดเช็ค อีเมล ของท่าน 

เอกสาร จะถูกส่ง ภายใน 5-10 นาที

ซึ่งเค้าอยากจะถาม ว่า “What is your greatest weakness? อะไรคือจุดอ่อนที่สุดของคุณ หรือ อาจจะถามว่า “What would you say is one of your strength?”อะไรที่คุณคิดว่าเป็นจุดแข็งที่สุดของคุณ

ซึ่งนอกเหนือไปจากเราจะต้องไป นั่งคิดว่าอะไรคือจุดอ่อน หรือ จุดแข็ง ของน้องๆแล้ว

แต่เรากลับต้องมาคิดต่อด้วยว่า ถ้าตอบไปแล้วเนี่ย เราจะตอบมันออกมาอย่างไร ให้ดูไม่มาก หรือ ไม่น้อยเกินไป และในขณะเดียวกัน เราก็ สามารถตอบโชว์จุดเด่น ลบจุดด้อย ได้

ซึ่ง การเตรียมตัวให้พร้อม สักหน่อย ก่อนที่จะไปสัมภาษณ์งานนั้น จะช่วยให้น้องๆ ได้ฝึกศิลปะการพูด เทคนิคการตอบคำถามสัมภาษณ์งาน เกี่ยวกับ ข้อดี ข้อเสีย ของตัวเอง ออกมาได้อย่าง ราบรื่น และทำให้ประทับใจกรรมการ ได้มากที่สุด

5 เคล็ดลับในการพูดถึง ข้อดี และ ข้อเสีย ในการสัมภาษณ์งาน

เอาหล่ะ หลักทฤษฏี ที่ใช้ได้ดีที่สุด มีดังนั้น แต่ ! อะไรหล่ะ ที่น้องๆ จะเลือก เอามาเป็นหัวข้อในการตอบเกี่ยวกับ ข้อดีและ ข้อเสีย ของตัวเอง ให้ออกมาดีที่สุด

1. ตอบด้วยความจริงใจ

หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการพูด หรือ ตอบคำถามเกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย ของตัวเอง ขณะที่กำลังสัมภาษณ์งานอยู่ นั่นก็คือ ความซื่อสัตย์ และ ความจริงใจ ค่ะ นึกออกไหม กรรมการเค้าสัมภาษณ์ คนมาเป็นร้อย เป็นพัน คน อาชีพ สัมภาษณ์งาน คืออาชีพเค้า ดังนั้น เค้าดูออก ค่ะ ถ้าเราเฟค หรือ โกหก ถ้าเราตอบอะไรไปที่ไม่ใช่ความจริงไป

จงตอบอย่างซื่อสัตย์ และ จริงใจ อาจจะดูฟังน่าเบื่อ แต่นี่คือความจริง ค่ะ การที่น้องๆ ตอบด้วยความจริง และ ความซื่อสัตย์ สิ่งนี้อาจจะทำให้น้องๆ ได้รับความประทับใจไปเต็มๆ จากกรรมการก็ได้

ให้จำไว้เสมอว่า การที่น้องๆ สามารถรู้จัก ข้อดีและข้อเสีย ของตัวเอง ถือว่าน้องๆ รู้จักตัวเองดีพอ และ พร้อมที่จะเรียนรู้ และ พัฒนา ตนเอง ถ้าน้องๆตอบได้ แสดงว่าน้องๆ ได้แสดงให้กรรมการ เห็นว่า น้องๆมีความสามารถในการมองสะท้อน ตนเองได้ ซึ่งนี่ ก็เป็นอีกหนึ่ง คุณสมบัติสำคัญ ที่กรรมการ หรือ ผู้สัมภาษณ์กำลังมองหาอยู่

2. เล่าให้เป็นเรื่องราว

น้องๆเคยได้ยินสำนวนนี้ไหมคะ “ทำให้เห็น โดยที่ไม่ต้องบอก” ดังนั้นถ้ากรรมการถามว่า คุณมีข้อดี ข้อเสีย อะไรบ้าง ให้เราตอบไปเลยค่ะว่า เรามี นี่ นี่ นั้น พร้อมทั้งกับเล่าเรื่องราวต่างๆ บวกเพิ่มไปด้วย ซึ่งเทคนิคนี้ เรียกว่า เทคนิค STEP ที่จะช่วยทำให้ ผู้เข้าสัมภาษณ์ สามารถตอบคำถามยากๆ ได้โดยที่ไม่ต้องไปจำคำตอบ

การตอบแบบเล่าเรื่องราว จะช่วยให้กรรมการเห็นภาพ มากยิ่งขึ้น แถมน้องๆ ก็มีเรื่องราวเพิ่มเติมที่จะคุยกับกรรมการ ได้มากขึ้นด้วย

3. พรรณาให้เห็นภาพ

ไม่ว่าเราจะกล่าวถึงข้อดี หรือ ข้อเสีย ของตัวเอง น้องๆควรที่จะยกเหตุการณ์มาเล่าให้เห็นภาพ ว่า

  • เกิดอะไรขึ้น
  • เราได้ทำอะไรบ้างจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น 
  • ได้เรียนรู้อะไร

เพื่อเป็นการรับรองว่า น้องๆได้เรียนรู้ กับเรื่องราวสิ่งเหล่านั้นที่เกิดขึ้นมาได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อน้องๆ ต้องกล่าวถึง ข้อด้วย หรือ ข้อเสีย ของตนเอง การที่เราแสดงออก เล่าเหตุการณ์ให้ผู้เข้าสัมภาษณ์ฟังได้อย่างละเอียด จะช่วยแสดงให้เห็นถึง “เส้นทางการเติบโตของน้องๆจริงๆ” ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กรรมการมองหา ค่ะ

4. ตอบให้กระชับ

บางครั้งเวลาที่เราได้เจอกับกรรมการ และ ได้สัมภาษณ์กับกรรมการนั้นมีไม่มากนั้น น้องๆจะต้องตักตวง ช่วงเวลาเหล่านี้ สร้างความประทับใจให้มากที่สุด ดังนั้น เมื่อกรรมการถามอะไรมา ก็ให้ตอบให้ตรงประเด็น อย่าลืมว่า น้องๆสร้างความประทับใจได้อีกด้วย ถ้าน้องๆ รู้จัก ที่จะตอบให้ตรงกับคำถามที่กรรมการถาม

ดังนั้นตอนตอบ คำถามที่ว่า อะไรคือ จุดแข็ง หรือ จุดอ่อน ของคุณ น้องๆสามารถตอบได้เลย เป็นข้อๆ แล้วอาจจะเพิ่มเติบ สักหน่อย ในข้อที่น้องๆ อยากจะพูดเสริม บอกรายละเอียดสักเล็กน้อยว่า ทำไมน้องคิดว่า สิ่งนั้น คือข้อดี หรือ ข้อเสียของตนเอง

5. อย่ากังวลจนเกินไป

พยายามอย่าเครียด หรือ กังวลมากเกินไป เพราะบางครั้งกรรมการเค้าอาจจะไม่ได้ดูว่า น้องๆจะตอบว่าอะไร แต่กรรมการอาจจะอยากเห็นว่า น้องๆ มีวิธีการตอบอย่างไรมากกว่า เพราะคำถามเหล่านี้ที่กรรมการถาม เป็นเพียง จุดๆ เดียวที่เอาไว้เชื่อมต่อกับจุดอื่นทั้งหมด เท่านั้นค่ะ

Get the Job!

ใครบ้างหล่ะที่ไม่อยากผ่าน สัมภาษณ์งาน

ยิ่งรู้คำถามสัมภาษณ์งานก่อน ยิ่งได้เปรียบ

ตอบคำถามใดๆ

ตัวอย่าง ข้อดี / จุดเด่น / จุดแข็ง

  • ชอบลงมือทำ/ ชอบลองทำอะไรใหม่ๆ
  • ใส่ใจรายละเอียด
  • ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
  • มุ่งมั่น / ทุ่มเท
  • มีความคิดสร้างสรรค์
  • มุ่มั่นตั้งใจ แน่วแน่
  • มีระเบียบวินัย / ที่โฟกัส ในการทำงาน
  • มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  • มีความกระตือรือร้น / หลงใหล / มีพลังขับเคลื่อน
  • มีความยืดหยุ่น /เป็นคนอะไรก็ได้ ง่ายๆ
  • ซื่อสัตย์
  • รู้จักใช้นวัตกรรมใหม่
  • อดทน
  • มีเคารพ ต่อผู้อื่น

ตัวอย่าง ข้อเสีย / จุดด้อย / จุดอ่อน

  • เจ้าระเบียบ
  • เป็นคนเคร่งกับตัวเองเกินไป / มีความอ่อนไหวง่าย
  • เป็น Perfectionist กว่าจะเลือกอะไรได้ใช้เวลานานมาก (หมายเหตุ: นี่อาจใช้เป็นจุดแข็งได้ แต่บางครั้ง ถ้าเราเป็น Perfectionist มากๆ ก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียได้เหมือนกันกับบางสถานการณ์)
  • ขี้อาย / ไม่ค่อยกล้าในการพูดในที่สาธารณะ
  • ชอบการแข่งขัน (หมายเหตุ: ทำนองเดียวกันกับพวก Perfectionist คืออาจจะเป็นได้ทั้งจุดอ่อน และ จุดแข็ง)
  • มีประสบการณ์ในบางเรื่องไม่มากนัก ซึ่งควรจะใช้กับ ประสบการ์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่ไม่จำเป็น เช่น ไม่ค่อยประสบการณ์ในการออกกำลังกาย / เล่นเกมส์
  • ไม่มีทักษะในการมอบหมายงาน
  • ชอบรับผิดชอบมากเกินไป
  • เป็นคนที่ไม่ค่อยละเอียด หรือ ละเอียดมากเกินไป
  • ไม่ค่อยกล้าเสี่ยง
  • โฟกัสมากเกินไป / ขาดโฟกัส